Abstract:
การปลดบุคคลจากล้มละลายเป็นการให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินบางส่วน อันจะส่งผลให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระในหนี้ที่หลุดพ้นนั้น ดังนั้น มาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้จึงมีจุดสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การรักษาสมดุลระหว่างการให้ประโยชน์แก่ลูกหนี้ผู้สุจริตกับการคุ้มครองเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ. ศ. 2542 มาตรา 35 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้บุคคลธรรมดาพ้นจากล้มละลายโดยอัตโนมัติไว้เพียงมาตราเดียว และไม่มีบทบัญญัติหลักเกณฑ์อื่นมารองรับ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด หลักการ ตลอดจนระบบที่ดีของการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อค้นหาแนวทางในการปลดจากล้มละลายที่เหมาะสม โดยมุ่งหมายให้การปลดจากล้มละลายเป็นรางวัลแก่ลูกหนี้ผู้สุจริต จากการศึกษาพบว่าหลักการปลดจากล้มละลายโดยคำสั่งศาลและการปลดจากล้มละลาย โดยผลของกฎหมายตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้ เพียงแต่มีรายละเอียดบางประการที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวซัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการแกใข ดังนี้ 1. ควรเพิ่มเติมพฤติการณ์ที่ถือว่าลูกหนี้ไม่สุจริตเข้าไว้ในนิยามของ “บุคคลล้มละลายทุจริต’' 2. ควรเพิ่มเติมเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้หยุดนับระยะเวลาการปลดจากล้มละลาย โดยกำหนดข้อเท็จจริงไว้หลายประการตามลักษณะความร้ายแรงของพฤติกรรมของลูกหนี้