dc.contributor.advisor |
ธรรมนูญ หนูจักร |
|
dc.contributor.author |
ธัชกฤช บุญรัตนสมัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-31T10:24:07Z |
|
dc.date.available |
2020-05-31T10:24:07Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66115 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
en_US |
dc.description.abstract |
ได้วิเคราะห์และเปรียบเทียบสารระเหยง่ายในใบกะเพรา ใบโหระพา และใบแมงลักด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) ร่วมกับเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) โดยใช้แคปิลลารีคอลัมน์ประเภท HP-5MS ขนาด 30 m × 0.25 mm × 0.25 μm โดยวิเคราะห์ทีละตัวแปร (single factor optimization) เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่างใบกะเพรา ใบโหระพา และใบแมงลักด้วย HS-SPME พบว่าสภาวะที่เหมาะสมของ HS-SPME คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 60 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 45 นาที จากการพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในใบกะเพรา ใบโหระพา และใบแมงลัก โดยเปรียบเทียบแมสสเปกตรัมกับฐานข้อมูล NIST14 สามารถพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายได้ทั้งหมด 74 ชนิด เมื่อใช้วิธีเคโมเมทริกซ์ชนิดการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) พบว่าสามารถจำแนกกลุ่มของตัวอย่างออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ตัวอย่างใบกะเพราสด ใบโหระพาสด ใบแมงลักสด ใบกะเพราคั่ว ใบโหระพาลวกและน้ำที่ผ่านการลวก ใบแมงลักลวกและน้ำที่ผ่านการลวก ด้วยรูปแบบ PCA ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME-GC-MS ร่วมกับวิธีเคโมเม ทริกซ์ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสารระเหยง่ายในใบกะเพรา ใบโหระพา และใบแมงลักได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Volatile compounds in holy basil, Thai basil and hoary basil leaves were determined by gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) combined with headspace solid phase microextraction (HS-SPME) using a capillary column of HP-5MS (30 m × 0.25 mm × 0.25 μm). Using an experimental design called single factor optimization, the following suitable HS-SPME conditions were obtained: extraction temperature of 60 ºC, extraction time of 45 minutes and desorption time of 5 minutes. Seventy-four volatile compounds were identified by comparing their mass spectra with those in the NIST14 database. Using principal component analysis (PCA), holy basil, Thai basil and hoary basil leaves were classified into six groups with different patterns in PCA, fresh holy basil leaves, fresh Thai basil leaves, fresh hoary basil leaves, roasted holy basil leaves, scalded Thai basil leaves with the boiled water and hoary basil leaves with the boiled water. This indicates that HS-SPME-GC-MS combined with chemometrics can be used to determine the volatile compounds in holy basil, Thai basil and hoary basil leaves. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ใบกะเพรา |
en_US |
dc.subject |
ใบโหระพา |
en_US |
dc.subject |
ใบแมงลัก |
en_US |
dc.title |
การวิเคราะห์สารระเหยง่ายในใบกะเพรา ใบโหระพา และใบแมงลักด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรีร่วมกับเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน |
en_US |
dc.title.alternative |
Analysis of volatile compounds in holy basil, Thai basil and hoary basil leaves using gas chromatography-mass spectrometry combined with headspace solid phase microextraction |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Thumnoon.N@Chula.ac.th |
|