DSpace Repository

การเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของกรดคาเฟอิก กรดเฟอรูลิกและกรดพาราคูมาริกโดยใช้เห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวล

Show simple item record

dc.contributor.advisor นวพร วินยเวคิน
dc.contributor.advisor จิตรตรา เพียภูเขียว
dc.contributor.author พัชรลักษณ์ โพธิ์วัง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-31T15:00:40Z
dc.date.available 2020-05-31T15:00:40Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66137
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 en_US
dc.description.abstract กระบวนการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของกรดคาเฟอิก กรดเฟอรูลิก และกรดพาราคูมาริกเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์อย่างมากทางอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากให้ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์เช่น วานิลลินที่มีคุณสมบัติเป็นสารให้กลิ่น (Flavoring agent) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้านยีสต์ รา และแบคทีเรีย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษากระบวนการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของกรดคาเฟอิก กรดเฟอรูลิกและกรดพาราคูมาริกโดยเห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวล ขั้นแรกเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของกรดคาเฟอิก กรดเฟอรูลิก และกรดพาราคูมาริกโดยเห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวลด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) จากนั้นติดตามอัตราการเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นสารผลิตภัณฑ์และสารมัธยันตร์ที่เกิดขึ้นทุกวันเป็นเวลา 7 วัน จากการทดลองพบว่า เห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวลสามารถเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของสารตั้งต้นทั้ง 3 ชนิดได้ทั้งหมดภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยไม่สามารถตรวจพบสารมัธยันตร์หรือผลิตภัณฑ์หลักได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อในตัวอย่างกรดคาเฟอิกและกรดเฟอรูลิก และพบผลิตภัณฑ์หลักที่เวลา 12.2 และ 33.7 นาที ในตัวอย่างกรดพาราคูมาริก และหลังจากเปรียบเทียบเวลาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้พบว่าผลิตภัณฑ์ที่เวลา 12.2 นาทีคล้ายกับกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก เมื่อทาผลิตภัณฑ์ ที่เวลา 33.7 นาทีให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค HPLC และระบุเอกลักษณ์ด้วยเทคนิคแมสสเปกโตรเมทรี (ESI-QTOF-MS) และเทคนิคโปรตอนนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (¹H NMR) พบว่าได้ผลิตภัณฑ์คล้ายกับ (E)-5--(2 carboxyvinyl)-2--(4 hydroxyphenyl)-2,3 dihydrobenzofuran-3 carboxylic acid ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีรายงานมาก่อนและควรได้รับการศึกษาถึงโครงสร้างและชีววิถีการสังเคราะห์และคุณสมบัติต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Biotransformation of caffeic acid, ferulic acid and p-coumaric acid is the process that is highly beneficial to the food industry, because they gave beneficial products, such as vanillin, is a flavoring agent and an antioxidant and possesses anti-yeast, antifungal and antibacterial activities. This research focuses on studying biotransformation of caffeic acid, ferulic acid and p-coumaric acid by Lentinus squarrosulus mont. and Pleurotus djamor. The first step involved investigation of products from biotransformation of caffeic acid, ferulic acid and p-coumaric acid by Lentinus squarrosulus mont. and Pleurotus djamor by using high performance liquid chromatography (HPLC). After that the rates of changes of the substrates, products and intermediates were followed everyday for 7 days. The results showed that L. squarrosulus mont. and P. djamor. could biotransform all 3 substrates within 7 days of incubation. However, neither intermediates nor major products could be detected in the culture supernatants of the caffeic acid or ferulic acid samples. The only major products that were detected in the the p-coumaric acid samples had the retention time of 12.2 and 33.7 minutes, and after comparing the retention time with those of standards, the product at retention time of 12.2 likely was p-hydroxybenzoic acid. After purifying product at retention time of 33.7 minutes by HPLC and identifying this product by proton nuclear magnetic resonance spectroscopy (¹H NMR) and mass spectrometry (ESI-QTOF-MS), the product was found likely (E)-5-(2-carboxyvinyl)-2-(4-hydroxyphenyl)-2,3-dihydrobenzofuran-3-carboxylic acid. The product had not been reported earlier and could be the subject of investigation for its structure, biosynthesis and activities in the future. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กรดคาเฟอิก en_US
dc.subject กรดเฟอรูลิก en_US
dc.subject กรดพาราคูมาริก en_US
dc.subject เห็ดขอนขาว en_US
dc.subject เห็ดนางนวล en_US
dc.title การเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของกรดคาเฟอิก กรดเฟอรูลิกและกรดพาราคูมาริกโดยใช้เห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวล en_US
dc.title.alternative Biotransformation of caffeic acid, ferulic acid and p-coumaric acid by Lentinus squarrosulus mont. and Pleurotus djamor en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Jittra.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record