Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความชุกของความเครียดจากการทำงานและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดจากการทำงานในเจ้าหน้าที่สาธารณ่สุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยในประเทศไทยปี 2547 ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความเครียดสวนปรุงและแบบทดสอบความเครียดจากการทำงานที่พัฒนาตาม Job demand-control model ระหว่างพฤศจิกายน 2547 - มกราคม 2548 จำนวน 1,906 ฉบับ ได้รับตอบกลับ 1,465 ชุด คิดเป็นร้อยละ 76.9 ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.9) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 67.1) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 67.5) อายุและระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยเท่ากับ 35.5 และ 14 ปี ตามลำดับ ความชุกของความเครียดจากการทำงานและความเครียดทั่วไปในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่ากับ ร้อยละ 28.8 และ 24.8 ปัจจัยที่มีโอกาสเพิ่มความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ความต้องการในงานสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 2.14 เท่า (95% 0=1.56-2.93) และความต้องการพัฒนาทักษะในงานสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 1.95 เท่า (95% 0=1.36-2.81) ปัจจัยที่มีโอกาสลดความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ความสามารถในการควบคุม/ตัดสินใจสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 0.25 เท่า (95% 0=0.18-0.35) ปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานตํ่ามีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 0.26เท่า (95%0=0.19-0.37) และ การได้รับสวัสดิการสูงมีโอกาสพบ ความเครียดจากการทำงาน 0.50 เท่า (95% 0=0.39-0.62) และปัจจัยอื่นที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข รายได้ของครอบครัวที่ไม่เพียงพอ ภาระหนักต่อการดูแลครอบครัว ความขัดแย้งในครอบครัว ความคิดเห็นต่อโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค สิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุง ได้แก่ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ปรับปรุงระบบการทำงานให้เกิดความเหมาะสม พัฒนาทักษะในการทำงานด้านต่างๆแก่เจ้าหน้าที่ และปรับปรุง สวัสดิการด้วยการเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆให้สูงขึ้น