DSpace Repository

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ปี 2547

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนทร ศุภพงษ์
dc.contributor.advisor วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
dc.contributor.author มนตรี ลิจุติภูมิ, 2517-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-01T14:26:34Z
dc.date.available 2020-06-01T14:26:34Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.issn 9745312355
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66152
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความชุกของความเครียดจากการทำงานและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดจากการทำงานในเจ้าหน้าที่สาธารณ่สุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยในประเทศไทยปี 2547 ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความเครียดสวนปรุงและแบบทดสอบความเครียดจากการทำงานที่พัฒนาตาม Job demand-control model ระหว่างพฤศจิกายน 2547 - มกราคม 2548 จำนวน 1,906 ฉบับ ได้รับตอบกลับ 1,465 ชุด คิดเป็นร้อยละ 76.9 ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.9) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 67.1) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 67.5) อายุและระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยเท่ากับ 35.5 และ 14 ปี ตามลำดับ ความชุกของความเครียดจากการทำงานและความเครียดทั่วไปในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่ากับ ร้อยละ 28.8 และ 24.8 ปัจจัยที่มีโอกาสเพิ่มความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ความต้องการในงานสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 2.14 เท่า (95% 0=1.56-2.93) และความต้องการพัฒนาทักษะในงานสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 1.95 เท่า (95% 0=1.36-2.81) ปัจจัยที่มีโอกาสลดความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ความสามารถในการควบคุม/ตัดสินใจสูงมีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 0.25 เท่า (95% 0=0.18-0.35) ปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานตํ่ามีโอกาสพบความเครียดจากการทำงาน 0.26เท่า (95%0=0.19-0.37) และ การได้รับสวัสดิการสูงมีโอกาสพบ ความเครียดจากการทำงาน 0.50 เท่า (95% 0=0.39-0.62) และปัจจัยอื่นที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข รายได้ของครอบครัวที่ไม่เพียงพอ ภาระหนักต่อการดูแลครอบครัว ความขัดแย้งในครอบครัว ความคิดเห็นต่อโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค สิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุง ได้แก่ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ปรับปรุงระบบการทำงานให้เกิดความเหมาะสม พัฒนาทักษะในการทำงานด้านต่างๆแก่เจ้าหน้าที่ และปรับปรุง สวัสดิการด้วยการเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆให้สูงขึ้น
dc.description.abstractalternative The purposes of this cross-sectional descriptive study were to determine the prevalence rate and related factors of occupational stress among healthcare workers in health centers, 2004. Data collecting instruments were (1) Suanprung Stress Test (SPST-20) and (2) Self-administered occupational stress questionnaires which was designed basing on the job demand-control model. The questionnaires were sent to 1,906 healthcare workers between November 2004 and January 2005. The response rate was 76.9 percent. The results showed that majority of healthcare workers who were the study samples were female (59.9 percent), married (67.1 percent) and bachelor degree of education (67.5 percent). Their mean age and work duration were 35.5 and 14 years respectively. The prevalence rates of work-related and general stress among the study samples were 28.8 and 24.8 percent respectively. Job related factors which were significantly and positively associated with occupational stress included: high work demand [OR (95% Cl) = 2.14 (1.56-2.93)], the need for personal career development [OR (95% Cl) = 1.95 (1.36-2.81)]. And job-related which were significantly and inversely associated with occupational stress were: high decision latitude [OR (95% Cl) = 0.25 (0.18-0.35)], low work environment problem [OR (95% Cl) = 0.26 (0.19-0.37)] and high benefits [OR (95% Cl) = 0.50 (0.39-0.62)]. Other factors which were statistical significantly associated with occupational stress included: job position (dental nurse), poor family income, high family burden, relationship in family and opinion on Universal Coverage Project. The author recommends that increasing the number of healthcare workers, improving work system, training for work development and improving salary system should be considered to prevent occupational stress among healthcare workers in health centers.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความเครียดในการทำงาน en_US
dc.subject สถานีอนามัย en_US
dc.subject เจ้าหน้าที่สาธารณสุข en_US
dc.subject บุคลากรสาธารณสุข en_US
dc.subject Job stress en_US
dc.subject Health stations en_US
dc.subject Public health personnel en_US
dc.subject Adjustment disorders en_US
dc.title ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ปี 2547 en_US
dc.title.alternative Prevalence of / and factors related to occupational stress among healthcares workers in health centers, 2004 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อาชีวเวชศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Soontorn.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor Wiroj.J@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record