Abstract:
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความมั่นคงของสถาบันการเงิน โดยจะทำการทดสอบอัตราส่วนทางการเงินว่ามีผลต่อการแบ่งกลุ่มสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการออกจากสถาบันการเงินที่ไม่ถูกปิดกิจการหรือไม่ และทดสอบว่ามีผสต่อการแบ่งกลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ ถูกปิดกิจการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐ สถาบันการเงินกลุ่มที่เป็นของต่างชาติ และสถาบันการเงินที่เป็นของเอกชนไทย ได้หรือไม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกแห่งที่เปิดดำเนินงานในไทยในปี 2537-2539 ซึ่งมี จำนวนทั้งหมด 106 แห่ง ใช้แบบจำลอง Logit และใช้ข้อมูลแบบ pooled data ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการถูกปิดกิจการของสถาบันการเงิน คือปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และประสิทธิภาพในการทำกำไร รวมถึงขนาดของกิจการที่เล็กเกินไปทำให้ความสามารถในการแข่งขันตํ่า พบว่าสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยไม่ระบัดระวังทำให้หลักประกัน เสื่อมค่าลงเมื่อเศรษฐกิจตกตํ่าจนไม่คุ้มหนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีต้นทุนในการกันสำรองที่สูงจนเป็นสาเหตุให้ต้องปิดกิจการลง และสถาบันการเงินที่มีความสามารถในการแข่งขันตํ่าเนื่องจากมีต้นทุนสูง ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับขนาดกิจการที่เล็กจงทำให้ต้องเสนอดอกเบี้ยที่สูงเพี่อจูงใจผู้ฝาก และมีอำนาจการต่อรองรวมถึงความได้เปรยบจากการประหยัดต่อขนาดน้อยกว่า จึงมีความสามารถในการทำกำไรได้น้อยกว่า เมื่อพิจารณาสถาบันการเงินที่เป็นของกลุ่มทุนต่างชาติพบว่ากิจการมีขนาดเล็กกว่าสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐ แต่มีอัตราการทำกำไรอยู่ในเกณฑ์ที่ดกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า สถาบันการเงินที่สามารถเพี่มทุนเองได้นั้นเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐแล้ว มีความแข็งแกร่งทางการเงินในทุกด้านดีกว่าสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินกองทุน การทำกำไร คุณภาพสินทรัพย์ และ สภาพคล่อง