DSpace Repository

บทบาทสตรีในรามเกียรติ์ : ศึกษาเปรียบเทียบนางสีดาของอินเดียและไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author หรรษา ติ่งสุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial อินเดีย
dc.date.accessioned 2020-06-05T01:23:56Z
dc.date.available 2020-06-05T01:23:56Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66182
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องบทบาทสตรีในรามเกียรติ์ : ศึกษาเปรียบเทียบตัวละครนางสีดาของอินเดียและไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงบทบาทสตรีในฐานะบุตร ภรรยาและมารดาของประเทศอินเดียและไทยผ่านตัวละครนางสีดาในเรื่องรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างของสถานภาพทางเพศและบทบาทของสตรีในฐานะบุตร ภรรยา และมารดาในประเทศอินเดียและไทยผ่านวรรณกรรม ผู้วิจัยได้นำกรอบแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสตรีนิยมวรรณกรรมกับสังคม และการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา งานวิจัยฉบับนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล โดยมุ่งเน้นเก็บข้อมูลด้วยวิธีการรวบรวมค้นคว้าจากเอกสารเป็นหลัก จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ผ่านตัวละครสตรี ได้แก่ นางสีดา ผลการศึกษาพบว่า บทบาทสตรีในฐานะบุตร ภรรยาและมารดาในรามายณะของทั้งสองประเทศมีลักษณะคล้ายกันเพราะการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะกฏหมายพระมนูธรรมศาสตร์ที่ไทยได้รับมาเป็นต้นฉบับของกฎหมายตราสามดวงของไทย ทำให้บทบาทสตรีในฐานะบุตร ภรรยาและมารดาคล้ายคลึงกันโดยสังคมถูกครอบงำด้วยระบบชายเป็นใหญ่(ปิตาธิปไตย)ซึ่งเป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมของทั้งสองประเทศ ระบบดังกล่าวมีอำนาจครอบงำในทุกชนชั้นและเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บุรุษมีอำนาจครอบงำสตรีผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ดังนั้นสตรีจึงต้องอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบบุรุษจนทำให้เกิดการแบ่งแยกทางเพศ การละเมิดทางวาจาด้วยการด่าทอ และท้ายที่สุด คือ บางครั้งการตีค่าของสตรีเป็นเพียงวัตถุทางเพศ แต่ในบางเหตุการณ์บทบาทของสตรี เช่น นางสีดาก็มีความแข็งแกร่งเห็นได้จากการปฏิเสธคำสั่งของพระรามและการใช้อำนาจในฐานะพี่สะใภ้สั่งการพระลักษมณ์ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้บทบาทสตรีของอินเดียและไทยจากตัวละครในรามายณะและรามเกียรติ์แตกต่างกัน ได้แก่ ค่านิยมของสังคมชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณีและคติความเชื่อทางศาสนาของพุทธและฮินดู
dc.description.abstractalternative The objective of the study is to compare the roles of women in Ramakien in Thailand and Ramayana in India through the character of Sita as daughter wife and mother. Cultural Diffusion, Literature and Society, and Feminist theories are employed in the analysis. The study adopted qualitative method by analizing two main literary works: Ramakien written by king Rama I and Ramayana written by Valmiki and translated by suporn Pholcheewin. The result of the study indicates that the women’s roles as daughter, wife and mother in India and Thailand are similar. This is because of cultural diffusion which brought patriarchy from India to Thailand. The concept of patriarchy influenced all classes of people. This main factor allows men to have power over women. Hence women are suppressed by men. This causes gender segregation and sexual domination in many instances. But, in case of Sita, She was not totally dominated by men. She refused to follow Rama’s order to go back to him and she also gave order to Laxman. However the difference in women’s role in India and Thailand through the analysis of Sita lies in quality of live, social values, tradition, norm, and religious belief of Buddhism and Hindu.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สตรี -- ไทย en_US
dc.subject รามเกียรติ์ en_US
dc.subject สตรี -- อินเดีย en_US
dc.subject สตรีในวรรณคดี en_US
dc.subject สิทธิสตรี en_US
dc.title บทบาทสตรีในรามเกียรติ์ : ศึกษาเปรียบเทียบนางสีดาของอินเดียและไทย en_US
dc.title.alternative Women's roles in the Ramakien : a comparison of Indian and Thai Sita
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record