Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตทุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยคเงื่อนไขว่าสามารถแสดงเจตนาอะไรได้บ้าง และแต่ละเจตนาใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา โดยใช้ข้อมูลจากนวนิยาย ๕ เรื่อง ซึ่งแต่งโดยนักเขียน ๔ คน คือ''คุณ ชาย” ของ ว.วินิจฉัยกุล ''ละครเล่ห์เสน่หา’' ของ กิ่งฉัตร '‘เนื้อใน” ของ กฤษณา อโศกสิน "นางบาป" ของ นันทนา วีระชน และ ‘'ดาวเรือง” ของ ทมยันตี ผลการศึกษาพบว่าประโยคเงื่อนไขในภาษาไทยจากนวนิยายทั้ง ๕ เรื่อง สามารถใช้แสดงเจตนาของผู้พูดได้ทั้งหมด ๒๓ เจตนา คือ บอก คาดคะเน อธิบาย อวด แย้ง ชม ตำหนิ บ่น ขอโทษ หยอกล้อ ประชด เยาะเย้ย สาบาน ถาม ขอร้อง แนะนำ เตือน สั่ง สอน ท้าทาย ชักชวน ยุ และ ขู่ โดยใช้เกณฑ์ทาง ด้านเจตนาจำแนกเจตนาต่าง ๆ ในประโยคเงื่อนไข จากการวิเคราะห์ว่าเหตุใดผู้พูดจึงเลือกใช้ประโยคเงื่อนไขแสดงเจตนา พบว่าผู้พูดเลือกใช้ประโยคเงื่อนไข เพื่อแสดงเจตนาด้วยจุดประสงค์ใหญ่ ๆ ๔ ประการ คือ ๑. เลือกใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อแสดงเงื่อนไข ๒. เลือกใช้ ประโยคเงื่อนไขเพื่อสมมุติเหตุการณ์ ๓ . เลือกใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อแสดงความสุภาพโดยการให้ทางเลือกแก่ผู้ฟังและให้ทางเลือกแก่ตนเอง หรือ ใช้เพื่อแสดงความไม่สุภาพโดยการใช้แสดงอำนาจและใช้ว่ากล่าวผู้ฟัง และ ๔. เลือกใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อช่วยผลักดันให้ผู้ฟังทำตามสิ่งที่ผู้พูดต้องการซึ่งสามารถแบ่งย่อย ๆ ได้ ๓ ประการ คือ ใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อผูกมัดผู้ฟัง ใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อโน้มน้าวหรือชักจูงใจผู้ฟัง และใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อสร้างเหตุผลเพิ่มนํ้าหนักคำพูดให้ตนเองหรือสร้างเหตุผลเพื่อหักล้างคำพูดของผู้ฟัง