Abstract:
เมืองอู่ทองเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในด้านตะวันตกของจังหวัดสุพรรณบุรีบนที่ราบลุ่มภาคกลาง ตอนล่างซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เคยมีรายงานว่าได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลที่เพิ่มระดับขึ้นสูงสุดในตอนกลางสมัย Holocene เมื่อประมาณ 6000-7000 ปีมาแล้ว โครงการนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของลำดับ ชั้นตะกอนควอเทอร์นารีที่ถูกบันทึกไว้ในชั้นตะกอนด้านตะวันออกของเมืองอู่ทองนี้ การวิเคราะห์ลำดับชั้น ตะกอนควอเทอร์นารีประกอบด้วย การจำแนกสมบัติทางกายภาพ ส่วนการวิเคราะห์ทางเคมีประกอบด้วยการ วิเคราะห์มวลที่หายไปจากการเผาและการหาธาตุองค์ประกอบในรูปแบบออกไซด์โดยใช้เครื่อง XRF ผล การศึกษาพบว่า สมบัติตะกอนสามารถนำมาใช้บอกสภาพแวดล้อมในอดีตของบริเวณนี้ได้ 4 ช่วง โดยช่วงแรก คือ ตะกอนชุดล่างสุดเป็นการสะสมตัวแบบบก จากการเทียบเคียงคุณสมบัติเป็นชั้นตะกอนดินเหนียวแข็ง (stiff clay) จากนั้นมีการเพิ่มระดับของน้ำทะเลรุกเขามาในพื้นที่ ทำให้ตะกอนใน ช่วงที่สองสะสมตัว โดยเป็น ตะกอนดินเหนียวสีเทาไม่แข็งมาก มีค่าอินทรีย์วัตถุไม่สูงมากและมีค่าคาร์บอเนตเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการมี ธาตุที่บ่งบอกการเข้ามามีอิทธิพลของน้ำเค็มในตะกอนบริเวณนี้สูงกว่าช่วงอื่น หรืออาจเรียกตะกอนชั้นนี้ว่าชั้น ตะกอนดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok clay) ช่วงที่สาม เป็นตะกอนสีน้ำตาล มีค่าออกไซด์ของเหล็กมากกว่า บริเวณอื่น รวมถึงขนาดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นช่วงที่น้ำทะเลน่าจะเริ่มถอยร่นลงไปแต่ยังอยู่ในบริเวณที่ ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง ( tidal zone) สอดคล้องกับการเกิดออกซิเดชันค่อนข้างมากจากการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำ รวมถึงค่าคาร์บอเนตที่ลดลงซึ่งบอกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งนี้ค่า ออกไซด์ของเหล็กที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากน้ำใต้ดินในบริเวณนี้ด้วย ในช่วงที่สี่ เป็นตะกอนสีเทาเข้มถึงดาพบ เกล็ดของแคลเซียมซัลเฟตมากกว่าชั้นอื่น เป็นผลจากการตกตะกอนของแร่ที่ระเหยจากน้ำเค็ม (evaporite) และ เป็นผลผลิตจากการผุพังของหินปูนซึ่งมีที่มาจากภูเขาหินปูนทางตะวันตกของพื้นที่ทำให้ค่าคาร์บอเนตใน ตะกอนชั้นนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าชั้นก่อนหน้า กล่าวโดยสรุป ลำดับชั้นการสะสมตัวของตะกอนบ่งชี้ว่าพื้นที่นี้มีการ เปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวจากตะกอนบกไปเป็นตะกอนน้ำกร่อยและตะกอนทะเลโดยมีชั้นดิน ปัจจุบันปิดทับตามลำดับ