DSpace Repository

ลำดับชั้นตะกอนควอเทอร์นารีจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนตรี ชูวงษ์
dc.contributor.author ปิยาภัสร์ แผ่นทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial สุพรรณบุรี
dc.date.accessioned 2020-06-06T08:43:50Z
dc.date.available 2020-06-06T08:43:50Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66205
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 en_US
dc.description.abstract เมืองอู่ทองเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในด้านตะวันตกของจังหวัดสุพรรณบุรีบนที่ราบลุ่มภาคกลาง ตอนล่างซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เคยมีรายงานว่าได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลที่เพิ่มระดับขึ้นสูงสุดในตอนกลางสมัย Holocene เมื่อประมาณ 6000-7000 ปีมาแล้ว โครงการนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของลำดับ ชั้นตะกอนควอเทอร์นารีที่ถูกบันทึกไว้ในชั้นตะกอนด้านตะวันออกของเมืองอู่ทองนี้ การวิเคราะห์ลำดับชั้น ตะกอนควอเทอร์นารีประกอบด้วย การจำแนกสมบัติทางกายภาพ ส่วนการวิเคราะห์ทางเคมีประกอบด้วยการ วิเคราะห์มวลที่หายไปจากการเผาและการหาธาตุองค์ประกอบในรูปแบบออกไซด์โดยใช้เครื่อง XRF ผล การศึกษาพบว่า สมบัติตะกอนสามารถนำมาใช้บอกสภาพแวดล้อมในอดีตของบริเวณนี้ได้ 4 ช่วง โดยช่วงแรก คือ ตะกอนชุดล่างสุดเป็นการสะสมตัวแบบบก จากการเทียบเคียงคุณสมบัติเป็นชั้นตะกอนดินเหนียวแข็ง (stiff clay) จากนั้นมีการเพิ่มระดับของน้ำทะเลรุกเขามาในพื้นที่ ทำให้ตะกอนใน ช่วงที่สองสะสมตัว โดยเป็น ตะกอนดินเหนียวสีเทาไม่แข็งมาก มีค่าอินทรีย์วัตถุไม่สูงมากและมีค่าคาร์บอเนตเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการมี ธาตุที่บ่งบอกการเข้ามามีอิทธิพลของน้ำเค็มในตะกอนบริเวณนี้สูงกว่าช่วงอื่น หรืออาจเรียกตะกอนชั้นนี้ว่าชั้น ตะกอนดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok clay) ช่วงที่สาม เป็นตะกอนสีน้ำตาล มีค่าออกไซด์ของเหล็กมากกว่า บริเวณอื่น รวมถึงขนาดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นช่วงที่น้ำทะเลน่าจะเริ่มถอยร่นลงไปแต่ยังอยู่ในบริเวณที่ ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง ( tidal zone) สอดคล้องกับการเกิดออกซิเดชันค่อนข้างมากจากการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำ รวมถึงค่าคาร์บอเนตที่ลดลงซึ่งบอกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งนี้ค่า ออกไซด์ของเหล็กที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากน้ำใต้ดินในบริเวณนี้ด้วย ในช่วงที่สี่ เป็นตะกอนสีเทาเข้มถึงดาพบ เกล็ดของแคลเซียมซัลเฟตมากกว่าชั้นอื่น เป็นผลจากการตกตะกอนของแร่ที่ระเหยจากน้ำเค็ม (evaporite) และ เป็นผลผลิตจากการผุพังของหินปูนซึ่งมีที่มาจากภูเขาหินปูนทางตะวันตกของพื้นที่ทำให้ค่าคาร์บอเนตใน ตะกอนชั้นนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าชั้นก่อนหน้า กล่าวโดยสรุป ลำดับชั้นการสะสมตัวของตะกอนบ่งชี้ว่าพื้นที่นี้มีการ เปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวจากตะกอนบกไปเป็นตะกอนน้ำกร่อยและตะกอนทะเลโดยมีชั้นดิน ปัจจุบันปิดทับตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative U-Thong ancient city is located at Suphan Buri province in the western part of the lower central plain of Thailand close to the paleo-shoreline of highest sea level previously reported in Middle Holocene around 6,000-7,000 years ago. This study is aimed to characterize Quaternary stratigraphy in place where the middle Holocene sea level change may record from boreholes drilled in the eastern side of the city. Stratigraphic analysis included the description of physical properties, chemical analysis by XRF for analyzing major oxide elements and Loss On Ignition technique for calculating % organic and carbonate contents. As a result, 4 stages of environmental change were identified based on stratigraphic context from bottom to top as follows. Firstly, subaerial condition is represented by stiff clay in the bottom of the core. Secondly, sediment including higher percentage of carbonate content and important elements indicating seawater in grey clay sediment or Bangkok clay is the indication of brackish water deposit. Thirdly, brown silty-sandy clay sediment with high iron oxide indicating oxidation event is interpreted to relate with tidal zone or ground water level change. Lowest carbonate content in this third layer can be used as indicator of environment change. Finally, very dark grey to black clay sediment with high calcium sulfate indicated evaporite deposit. Increase in carbonate content comparing with below layer possibly causes by an effect of weathering product from limestone mountain on the west side of U-Thong city. Based on stratigraphy, the paleo-environment in this area started from freshwater, brackish, marine and floodplain environment, respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ลำดับชั้นตะกอนควอเทอร์นารีจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี en_US
dc.title.alternative Quaternary stratigraphy from U-Thong district, Suphanburi province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Montri.C@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record