DSpace Repository

การประยุกต์ใช้เทคนิคทางธรณีฟิสิกส์เพื่อระบุขอบเขตการปนเปื้อน บริเวณเหมืองดีบุกเก่า อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
dc.contributor.advisor ฐานบ ธิติมากร
dc.contributor.advisor เกียรติพงษ์ คำดี
dc.contributor.author สุจิตราพร โพธิ์ชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial สุพรรณบุรี
dc.date.accessioned 2020-06-06T08:53:03Z
dc.date.available 2020-06-06T08:53:03Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66208
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 en_US
dc.description.abstract แร่ดีบุกที่เกิดในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มาจากสินแร่แคสซิเทอไรต์ (Cassiterite) เกิดอยู่ในสายแร่แบบน้าร้อนที่แทรกในหินแกรนิตหรือหินตะกอนข้างเคียง สินแร่แคสซิเทอไรต์มักเกิดร่วมกับแร่อาร์ซิโนไพไรต์ แร่ชาร์ลโคไพไรต์และแร่อื่น ๆ เมื่อมีการทำเหมืองแร่ดีบุกจึงมีการทิ้งเพื่อนแร่เหล่านี้เป็นกากแร่ ทำให้สารหนูกระจายสู่สิ่งแวดล้อมเมื่อแร่อาร์ซิโนไพไรต์เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การศึกษาการปนเปื้อนในพื้นที่เหมืองดีบุกเก่า ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประยุกต์ใช้การสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้ากับการวิเคราะห์อุทกธรณีเคมีของน้ำบาดาลและดินในพื้นที่เพื่อระบุขอบเขตการปนเปื้อนของมลสาร การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ใช้วิธีการสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 1 มิติ วางขั้วไฟฟ้าแบบชรัมเบอร์แจร์ (Schlumberger array) ทำการสำรวจทั้งหมด 12 จุด และนำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม IPI2Win เพื่อสร้างภาพตัดขวางแสดงชั้นใต้ผิวดิน ซึ่งพบว่าพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยชั้นใต้ผิวดิน 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นดินเหนียว (Clay) ความลึกตั้งแต่ 0-10 เมตร ชั้นที่สองเป็นตะกอนหยาบ (Gravel) มีความลึก 10-25 เมตร และชั้นที่สามเป็นหินปูน มีความลึกมากกว่า 25 เมตร การวัดระดับน้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้นและบ่อบาดาลระดับลึกบอกได้ว่า น้ำบาดาลไหลจากพื้นที่เติมน้ำ (ภูเขา) ทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังพื้นที่ต่ำกว่าทางใต้ สำหรับการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์เคมีทาการเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลระดับตื้น 7 บ่อ น้ำบาดาลระดับลึก 7 บ่อและน้ำผิวดิน 1 จุด นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างดิน 6 จุด พบว่าน้ำบาดาลระดับตื้นมีความเข้มข้นของสารหนู 0.406-5.409 μg/L บ่อที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดคือบ่อ w3 อยู่ห่างจากเหมืองดีบุกไปทางท้ายน้ำ 1.2 กิโลเมตร แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 10 μg/L ในขณะที่น้ำผิวดินซึ่งเก็บตัวอย่างจากบ่อเก็บกากแร่เก่ามีค่าความเข้มข้นของสารหนู 23.66 μg/L ซึ่งเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สำหรับตัวอย่างดินพบว่ามีความเข้มข้นของสารหนูมากที่สุดคือ 911.88 mg/kg ในจุดที่ห่างจากเหมือง 0.5 กิโลเมตร และดินที่มีความเข้มข้นของสารหนูน้อยที่สุดมีความเข้มข้น 10.29 mg/kg ห่างจากเหมืองดีบุกเก่าประมาณ 2.16 กิโลเมตร จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ของธรณีฟิสิกส์ไม่สามารถใช้ในการระบุขอบเขตการปนเปื้อนของสารหนูในน้ำบาดาลได้อย่างสมบูรณ์ แต่การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สามารถใช้เพื่ออธิบายการไหลของน้ำบาดาลและใช้ร่วมกับข้อมูลอุทกธรณีเคมีเพื่ออธิบายพื้นที่ปนเปื้อนที่เป็นไปได้ en_US
dc.description.abstractalternative In Thailand, most of tin ores are Cassiterite, occurring in hydrothermal veins in wall rocks which associated with granite. Arsenopyrite is the associated mineral generally found in tin mine tailings, which is dumped in tailings after the mining processes. Arsenic (As) is released to the surrounding environments when occurring oxidation of arsenopyrite mineral. This study applied the geophysical investigation combined with hydrogeochemical analysis of groundwater and soils to delineate contaminated areas around the old tin mine. Twelve vertical electrical sounding points were established in this study with Schlumberger array. Then, subsurface data were processed with IPI2Win to create pseudo-cross sections. This result revealed that this area has 3 layers: clay (0-10 m depth), gravel (10-25 m depth), and limestone (≥25 m depth). Groundwater levels were measured in both shallow and deep wells and found that groundwater flow from the recharge area in northwest to the discharge area in south of the study area. In this study, groundwater samples were collected from 7 shallow wells and 7 deep wells around the old tin mine. One surface water sample at the tailing pond of the old tin mine were collected for As analysis as well. Furthermore, six soil samples are also collected. The analysis reveals that As concentrations of shallow wells were in range of 0.406 and 5.409 μg/L. The highest concentration of shallow groundwater is located at well no. w3, the nearest well around 1.2 km in the downstream direction of the tin mine, not over the WHO standard of 10 μg/L. The surface water, located at the old tailing pond, has As concentration approx. 23.66 μg/L exceeding the WHO standard. Moreover, the highest concentration of soil sample is 911.88 mg/kg, around 0.5 km downstream of the mine, while the lowest concentration is 10.29 mg/kg approx. 2.16 km downstream of the mine. In conclusion, the geophysical results cannot be successfully used delineating As-contaminated groundwater, but the geophysical investigation can be used to explain groundwater flow and used as an assistant tool combined with hydrogeochemical data to further explain the possible contaminated areas. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การประยุกต์ใช้เทคนิคทางธรณีฟิสิกส์เพื่อระบุขอบเขตการปนเปื้อน บริเวณเหมืองดีบุกเก่า อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี en_US
dc.title.alternative Application of geophysical technique to delineate contaminated area around the old tin mine, Dan chang district, Suphanburi province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Srilert.C@Chula.ac.th
dc.email.advisor Thanop.T@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record