Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 7 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมตลอดหลักสูร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตแต่ละสาขาวิชา 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสิตแต่ละสาขาวิชา ทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนิสิตแต่ละรายวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตแต่ละสาขาวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตแต่ละสาขาวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตในแต่ละสาขาวิชา และ 7) เพื่อหารูปแบบ (สมการถดถอยพหุคูณ)ของความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตแต่ละสาขาวิชา เพื่อใช้ในการศึกษาและทำนายผล วิธีวิจัย: ผู้วิจัยได้คัดลอกผลการศึกษาของนิสิตคณะครุศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษา (เฉพาะเลขประจำตัว 234...) จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 91.14 ของจำนวนนิสิตทั้งหมด 316 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบภายหลังโดยวิธีการของเชฟเฟ่ การห่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการเสนอผลการวิจัยได้เสนอในรูปแผนภูมิ ตาราง และความเรียง ประกอบการอธิบาย ผลการวิจัย: 1. สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาครูสูงสุดได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ ส่วนที่ต่ำที่สุดในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ได้แก่ สาชาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) และต่ำสุดในหมวดวิชาครู พบว่าสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงสุด ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม ส่วนที่ต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) 2. จากรูปแบบสามมิติของการสัมฤทธิผลทางการเรียน พบว่า สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเหนือค่าเฉลี่ยรวมของทุกสาขาวิชา (Above Mean) สูงทั้งสามประเภท ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน และสาขาวิชาประถมศึกษา ส่วนสาขาวิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม (Below Mean) ทั้งสามประเภท ได้แก่ สาขาวิชา การสอนวิชาเฉพาะ (ดนตรี พลศึกษา และศิลปศึกษา) สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรสูงแต่อีกสอบประเภทต่ำมีเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรต่ำ แต่อีกสองประเภทสูง ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ สำหรับสาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) นั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพียงหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปสูงเพียงประเภทเดียว นอกนั้นต่ำทั้งสองประเภท 3. ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ 1 สาขาวิชา ระดับยอดเยี่ยม 2 สาขาวิชา ระดับดี 2 สาขาวิชา ระดับค่อนข้างดี 2 สาขาวิชา และระดับปานกลาง 1 สาขาวิชา สำหรับสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและอยู่ในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ ได้แก่ สาขาวิชา มัธยม-วิทยาศาสตร์ ส่วนสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ สาขาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) 4. เกือบทุกรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ ยกเว้นรายวิชาต่อไปนี้ คือ วิชา 110 180 อารยธรรม แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับ อ่อนมากถึง ดี วิชา 313 183 สังคมและวัฒนธรรมและวิชา 260 150 ธรรมชาติวิทยา ตั้งแต่ระดับ อ่อนมาก ถึงยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 311 113 การเมืองและการปกครองไทย ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 092 101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 ตั้งแต่ระดับ อ่อนมากถึงยอดเยี่ยม และวิชา 092 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับอ่อนมาก 5. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่าทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และพบว่าสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าสาขาอื่น ๆ ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน และสาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม 6. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวในแต่ละสาขาวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป พบว่า แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 8 รายวิชา คือ วิชา 110 180 อารยธรรม วิชา 313 183 สังคมและวัฒนธรรม วิชา 260 150 ธรรมชาติวิทยา วิชา 311 113 การเมืองและการปกครองไทย วิชา 092 101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 วิชา 092 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 วิชส 411 238 ภาษาไทย 3 และวิชา 411 239 ภาษาไทย 4 ส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1 รายวิชา คือ วิชา 411 131 ภาษาไทย 2 7. ในหมวดวิชาครู ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ 8. เกือบทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี ถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ ยกเว้นรายวิชาต่อไปนี้ คือ วิชา 411 101 ปฐมนิเทศการศึกษา แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ ปานกลาง ถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 417 214 จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา ตั้งแต่ อ่อนมาก ถึง ดี วิชา 417 215 จิตวิยาสำหรับครู และวิชา 412 240 การวัดและประเมินผลการเรียน ตั้งแต่ระดับ ค่อนข้างดี ถึงยอดเยี่ยมพิเศษ สำหรับรายวิชา 412 520 ระเยียบวิธีวิจัยในศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่นะดับ ค่อนข้างดี 9. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และพบว่า สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าสาขาอื่น ๆ ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน 10. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวในแต่ละรายวิชาบังคับที่เรียนร่วมกันในหมวดวิชาครู พบว่าแต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับรายวิชาที่นิสิตแต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันคือ 411 101 ปฐมนิเทศการศึกษา วิชา 417 214 จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา วิชา 417 215 จิตวิทยาสำหรับครู วิชา 412 240 การวัดและประเมินผลการเรียน วิชา 418 330 สื่อการสอน วิชา 414 331 หลักสูตรและการสอนระดับมัธยมศึกษา วิชา 410 480 ประสบการณ์วิชาชีพ วิชา 410 490 สัมมนาการศึกษา และวิชา 413 202 หลักสูตรและการสอนระดับประถมศึกษา 11. ความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาขาวิชาระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาครู หมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรกับหมวดวิชาครู มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น 0.68, 0.73, และ 0.80 ตามลำดับ และทุกคู่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์นี้จะอยู่ตั้งแต่ระดับค่อนข้างสูงถึงสูงมาก 12. สมการถดถอยพหุคูณของแต่ละสาขาวิชา เป็นดังนี้ (x[subscript1-p] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลกสูตร, x[subscript 2] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป, x[subscript 3] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมวดวิชาครู ) 12.1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย x[subscript1-p] = 0.15x[subscript2]+0.14x[subscript3]+2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแกรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 72.25 12.2 สาขาวิชาประถมศึกษา x[subscript1-p]=0.31x[subscript2]+0.8x[subscript3] + 1.85 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 96.04 12.3 สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ x[subscript 1-p] = 0.12x[subscript2]+0.35x[subscript3]+ 1.28 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 57.76 12.4 สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม x[subscript1-p] = 0.11x[subscript 2]+0.34x[subscript3] + 1.64 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 98.01 12.5 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) x[1-p] = 0.08x[subscript 2]+ 0.22x[subscript 3] + 1.97 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 72.25 12.6 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ศิลปศึกษา) x[subscript 1-p] = 0.06x[subscript 2] + 0.19x[subscript 3] + 2.04 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 43.56 12.7 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ดนตรี) x[subscript 1-p] = 0.07x[subscript 2] + 0.05x[subscript 3] + 2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 43.56 12.8 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) x{subscript 1-p] = 0.16x[subscript 2] + 0.15x[subscript 3] + 1.72 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรได้ถูกต้องร้อยละ 57.76 12.9 สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน x[1-p] = 0.15x[subscript 2] + 0.14x[subscript 3] + 2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 60.84 13 สมการถดถอยพหุคูณรวมทุกสาขาวิชาในคณะครุศาสตร์ x[1-p] = 0.12x[subscript 2] + 0.23x[subscript 3] + 1.85 ตัวแปรทั้งสองนี้สามารถอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรได้ถูกต้องร้อยละ 68.89 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาครูมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01