Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรปลากะตัก โดยมีสมมติฐานในการวิจัยคือ การกำหนดนโยบายการทำประมงปลากะตักของรัฐมีหลักเหตุผลประกอบน้อยมากแทบจะไม่ปรากฏ ผลการศึกษาปรากฎว่า รัฐมีแนวโน้มในการใช้เหตุผลในการกำหนดนโยบายการทำประมงปลากะตักน้อยมาก เมื่อรัฐนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติได้ทำให้ ต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต้องสูญเสียไปมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับและนับวันจะรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับผลกระทบที่เกิดขึ้นนำไปสู่ปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง สาเหตุที่ทำให้การกำหนดนโยบายมีแนวโน้มประกอบด้วยหลักเหตุผลน้อยมากเนื่องจาก รัฐให้ความสำคัญกับการ พัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาความขัดแย้งในการทำประมงปลาปะตักที่เกิดขึ้น รัฐในฐานะเป็นผู้กำหนดและวางแนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงทะเล ได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรปลากะตักในฐานะเป็นที่มาของรายได้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสำคัญ ส่วนปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญในอันดับรองลงไป โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคมที่ต้องเสียไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐได้รวมศูนย์อำนาจในการจัดการทรัพยากรและออกระเบียบกฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์แต่ผู้เดียว นอกจากนั้นรัฐไม่เปิดโอกาลให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและจัดการทรัพยากรด้วยตนเอง นอกจากผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า การนำแนวคิด การกำหนดนโยบายที่ ยึดหลักเหตุผลมาใช้ในการพิจารณากระบวนการกำหนดนโยบายว่าประกอบ ด้วยหลักเหตุผลหรือไม่นั้น ประสบกับข้อจำกัดในการใช้หลักต้นทุนและผลประโยชน์ในการวิเคราะห์ เช่น การไม่สามารถวัดข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าได้อย่างขัดเจน คุณค่าของแต่ละกลุ่มที่ไม่ลามารถเปรียบเทียบกันได้ เป็นต้น ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้หลักเหตุผลไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการตีความและประยุกต์ใช้ในแต่ละกรณี