Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการศูนย์การค้าในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาอิทธิพลและรัศมีการให้บริการของศูนย์การค้าที่มีผลต่อชุมชนพักอาศัยย่านบางกะปิและบริเวณใกล้เคียง 3. เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศูนย์การค้าในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบ ถาม การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าในพื้นที่ย่านบางกะปิจำนวน 400 ตัวอย่าง ทั้งนี้การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ( Accidental Sampling ) โดยสอบถามถึงลักษณะทั่วไปของผู้ใช้บริการศูนย์การค้าพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและปัญหาที่เกิดจากศูนย์การค้า แล้วจึงวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางกายภาพกับสภาพปัญหา ตลอดจนอิทธิพลของศูนย์การค้าที่มีผลต่อชุมชนพักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าย่านพาณิชยกรรมด้านตะวันออกมีการขยายตัวไปตามแนวถนน ลาดพร้าว, รามคำแหง, บางนา ตราด, ศรีนครินทร์, สุขาภิบาล ที่เป็นเส้นทางสู่ภาคตะวันออกสามารถแบ่งได้เป็น 5 ย่าน ตังนี้ ย่านลาดพร้าว - วังทองหลาง, ย่านศรีนครินทร์ , ย่านสุขาภิบาล 1 - 3, ย่านรามคำแหง และย่านบางกะปิ ซึ่งมีศูนย์การค้าในพื้นที่ทั้งหมด 21 แห่ง โดยย่านบางกะปิมีการกระจุกตัวของศูนย์การค้าถึง 5 แห่ง เนื่องจากย่านบางกะปิมีศักยภาพในการ พัฒนาทางด้านการค้า โดยสามารถเชื่อมโยงกับเขตชั้นในและจังหวัดรอบนอกได้อย่างสะดวกจากเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่ ราคาที่ดินมีราคาถูกกว่าพื้นที่ในเมืองการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของกรุงเทพมหานครถึง 4 เท่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนธุรกิจศูนย์การค้า นอกจากนี้พื้นที่ศึกษายังมีการกระจุกตัวของการค้าและบริการ ส่วนการศึกษาลักษณะทั่วไปทางด้านกายภาพของศูนย์การค้าในแต่ละแห่งนั้นทำให้ทราบว่าศูนย์การค้าในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่องประเภทของสินค้า , ขนาดของศูนย์การค้า , กลุ่มผู้ใช้บริการ และรัศมีการให้ บริการ ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถแบ่งศูนย์การค้าในแต่ละระดับ ดังนี้
1. ศูนย์การค้าระดับตำบล (Neighborhood Shopping Center) รัศมีการให้บริการ 1-2 กิโลเมตร มีจำนวน 3 แห่ง 2. ศูนย์การค้าระดับชุมชน (Community Shopping Center) รัศมีให้บริการ 3-5 กิโลเมตร มีจำนวน 14 แห่ง 3. ศูนย์การค้าระดับภูมิภาค (Regional Shopping Center) รัศมีให้บริการ 6 กิโลเมตร ขึ้นไป มีจำนวน 4 แห่ง อิทธิพลของศูนย์การค้าในย่านบางกะปิได้ก่อให้เกิดผลในด้านต่าง ๆ ให้กับเมือง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจที่ล้งผลให้ภาครัฐ จัด เก็บภาษีได้มากขึ้น ผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยจากการแข่งขันกันของศูนย์การค้า ซึ่งมีผลลบต่อการดำเนินการค้าของร้านค้าย่อย, ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมของเมือง ทำให้เกิดความแออัดของยานพาหนะที่ส่งผลต่อสภาพอากาศและเสียงขยะมูลฝอย หาบเร่แผงลอยบริเวณศูนย์การค้า ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ใขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากศูนย์การค้าในพื้นที่ศึกษาได้แก่ ปัญหาการจราจร ควรมีการจัดระบบการจราจรบริเวณสี่แยกบางกะปิถึงสามแยกแฮปปีแลนด์ สร้างหรือขยายสะพานลอยคนข้ามเพิ่มขึ้น จัดพื้นที่จอดรถเพิ่มเติมในวันหยุด , ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ภาครัฐควรจัดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียงรวมถึงจุดตรวจปรับยานพาหนะที่มีควันดำ ย้ายสถานที่จอดรถโดยสารประเภทรถตู้ / สองแถวไปอยู่บริเวณด้านหลังศูนย์การค้า , ปัญหาขยะมูลฝอย ควรสนับสนุนให้ศูนย์การค้าใช้วัสดุบรรจุสินค้าที่ย่อยสลายได้และนำค่าใช้จ่ายมาเป็นส่วนลดด้านภาษี, ปัญหาทัศนียภาพของชุมชนควรจัดตั้งแนวเขตการค้าและรูปแบบร้านค้าให้เป็นรูปแบบเดียวกันรวมถึงขุดลอกคลองบ้านหนังให้ระบายนํ้าได้สะดวก และด้านการเสื่อมถอยของอาคารร้านค้าย่อย แก้ไขโดยภาครัฐควรมีมาตราการควบคุมการขยายตัวของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ต่าง ๆ และจัดทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเมืองเพื่อให้ศูนย์การค้าสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและมีผลบวกต่อชุมชน