dc.contributor.advisor |
ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ |
|
dc.contributor.author |
ปิยะมาศ เลิศนภากุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปีตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-06-09T06:58:58Z |
|
dc.date.available |
2020-06-09T06:58:58Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9740311741 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66248 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการศูนย์การค้าในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาอิทธิพลและรัศมีการให้บริการของศูนย์การค้าที่มีผลต่อชุมชนพักอาศัยย่านบางกะปิและบริเวณใกล้เคียง 3. เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศูนย์การค้าในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบ ถาม การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าในพื้นที่ย่านบางกะปิจำนวน 400 ตัวอย่าง ทั้งนี้การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ( Accidental Sampling ) โดยสอบถามถึงลักษณะทั่วไปของผู้ใช้บริการศูนย์การค้าพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและปัญหาที่เกิดจากศูนย์การค้า แล้วจึงวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางกายภาพกับสภาพปัญหา ตลอดจนอิทธิพลของศูนย์การค้าที่มีผลต่อชุมชนพักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าย่านพาณิชยกรรมด้านตะวันออกมีการขยายตัวไปตามแนวถนน ลาดพร้าว, รามคำแหง, บางนา ตราด, ศรีนครินทร์, สุขาภิบาล ที่เป็นเส้นทางสู่ภาคตะวันออกสามารถแบ่งได้เป็น 5 ย่าน ตังนี้ ย่านลาดพร้าว - วังทองหลาง, ย่านศรีนครินทร์ , ย่านสุขาภิบาล 1 - 3, ย่านรามคำแหง และย่านบางกะปิ ซึ่งมีศูนย์การค้าในพื้นที่ทั้งหมด 21 แห่ง โดยย่านบางกะปิมีการกระจุกตัวของศูนย์การค้าถึง 5 แห่ง เนื่องจากย่านบางกะปิมีศักยภาพในการ พัฒนาทางด้านการค้า โดยสามารถเชื่อมโยงกับเขตชั้นในและจังหวัดรอบนอกได้อย่างสะดวกจากเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่ ราคาที่ดินมีราคาถูกกว่าพื้นที่ในเมืองการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของกรุงเทพมหานครถึง 4 เท่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนธุรกิจศูนย์การค้า นอกจากนี้พื้นที่ศึกษายังมีการกระจุกตัวของการค้าและบริการ ส่วนการศึกษาลักษณะทั่วไปทางด้านกายภาพของศูนย์การค้าในแต่ละแห่งนั้นทำให้ทราบว่าศูนย์การค้าในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่องประเภทของสินค้า , ขนาดของศูนย์การค้า , กลุ่มผู้ใช้บริการ และรัศมีการให้ บริการ ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถแบ่งศูนย์การค้าในแต่ละระดับ ดังนี้
1. ศูนย์การค้าระดับตำบล (Neighborhood Shopping Center) รัศมีการให้บริการ 1-2 กิโลเมตร มีจำนวน 3 แห่ง 2. ศูนย์การค้าระดับชุมชน (Community Shopping Center) รัศมีให้บริการ 3-5 กิโลเมตร มีจำนวน 14 แห่ง 3. ศูนย์การค้าระดับภูมิภาค (Regional Shopping Center) รัศมีให้บริการ 6 กิโลเมตร ขึ้นไป มีจำนวน 4 แห่ง อิทธิพลของศูนย์การค้าในย่านบางกะปิได้ก่อให้เกิดผลในด้านต่าง ๆ ให้กับเมือง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจที่ล้งผลให้ภาครัฐ จัด เก็บภาษีได้มากขึ้น ผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยจากการแข่งขันกันของศูนย์การค้า ซึ่งมีผลลบต่อการดำเนินการค้าของร้านค้าย่อย, ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมของเมือง ทำให้เกิดความแออัดของยานพาหนะที่ส่งผลต่อสภาพอากาศและเสียงขยะมูลฝอย หาบเร่แผงลอยบริเวณศูนย์การค้า ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ใขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากศูนย์การค้าในพื้นที่ศึกษาได้แก่ ปัญหาการจราจร ควรมีการจัดระบบการจราจรบริเวณสี่แยกบางกะปิถึงสามแยกแฮปปีแลนด์ สร้างหรือขยายสะพานลอยคนข้ามเพิ่มขึ้น จัดพื้นที่จอดรถเพิ่มเติมในวันหยุด , ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ภาครัฐควรจัดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียงรวมถึงจุดตรวจปรับยานพาหนะที่มีควันดำ ย้ายสถานที่จอดรถโดยสารประเภทรถตู้ / สองแถวไปอยู่บริเวณด้านหลังศูนย์การค้า , ปัญหาขยะมูลฝอย ควรสนับสนุนให้ศูนย์การค้าใช้วัสดุบรรจุสินค้าที่ย่อยสลายได้และนำค่าใช้จ่ายมาเป็นส่วนลดด้านภาษี, ปัญหาทัศนียภาพของชุมชนควรจัดตั้งแนวเขตการค้าและรูปแบบร้านค้าให้เป็นรูปแบบเดียวกันรวมถึงขุดลอกคลองบ้านหนังให้ระบายนํ้าได้สะดวก และด้านการเสื่อมถอยของอาคารร้านค้าย่อย แก้ไขโดยภาครัฐควรมีมาตราการควบคุมการขยายตัวของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ต่าง ๆ และจัดทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเมืองเพื่อให้ศูนย์การค้าสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและมีผลบวกต่อชุมชน |
|
dc.description.abstractalternative |
Piyamas Lertnapakun : Influence of Suburban Shopping Centers in The Eastern Area of Bangkok : A Case Study of Bangkapi district And Vicinity . Thesis Advisor : Assoc. Prof. Sakchai Kirinpanu , Ph.D., ISBN 947 -03-1174-1 The objectives of this thesis were 1) to study the development of shopping center in the eastern area of Bangkok, 2) to study the influence and service area of shopping center affecting to the communities in Bangkapi district and vicinity, 3) to propose guidelines in developing the shopping center in the eastern area of Bangkok. The research methodology included : taking field survey, distributing questionnaires and making interviews for 400 samples from the shopping center user in Bangkapi district by accidental sampling. The questionnaires focused on user characteristics 1 behavior and problems on using shopping center. From this study , the commercial zone in eastern of Bangkok expanded along Ladphaw road , Ramkamhang road , Bangna - Trad road, Sri Nakarin road and Sukapibal road which are routes to the eastern area. The shopping centers are classified to 5 zones: Ladphaw - Wangthonglang, Srinakarin, Sukapibal, Ramkamhang , and Bangkapi which cover 21 shopping centers. Bangkapi district has agglomerated up to 5 shopping centers responded to the potential of commercial development in connecting inner and outer of city due to the convenient transportation, the land price is lower than other area, the population growth rates of 4 times higher than of the other area in Bangkok, and the demographic structure is the magnet target to invest in shopping center. Moreover, the study area has been agglomerated of trade and services. The physical study of each shopping center shows the different in the type of commodities and size of shopping center , group of users and service area which are classified to 1. Neighborhood shopping center - the service area is 1-2 kilometers, 3 shopping center in this area. 2. Community shopping center - the service area is 3-5 kilometers, 14 shopping center in this area. 3. Regional shopping center - the service area is 16 kilometers or more, 4 shopping centers in this area. The influences of shopping center in Bangkapi create the effects to the city such as economic returns to the Government particularly on increasing tax revenues, the users have variety of choices from the intense competitions of shopping center which creates the problem to the operation of the small retail shops, the physical and urban environment, the air pollution, the noise pollution, the traffic jam and the garbage around shopping center. The recommendations to solves the problems caused by the shopping center in this area are 1) traffic problem: to manage the traffic systems around the intersections of Bangkapi to Happy Land, to build more bridges, cross over and parking lots in holiday periods, 2) air and noise pollution: to setup the center which check and test the quality of air and noise, to remove the parking lot of vans / small buses to the back of shopping center, 3) garbage problem: to support user of recycle and disposable and create incentive of using them by tax, 4) community visual problem: to set up the harmony of shape and zone of large shopping center, and to drain Bannang Canal in order to clean the water, 5) recession of the small retail shops: to issue measures in controlling the expanding of large shopping centers in the other area and set public hearing to response to the comments of population in order to serve the people and provide positive influence in the community. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การเกิดเป็นเมือง |
en_US |
dc.subject |
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- บางกะปิ (กรุงเทพฯ) |
en_US |
dc.subject |
ศูนย์การค้า |
en_US |
dc.subject |
บางกะปิ (กรุงเทพฯ) |
en_US |
dc.subject |
Land use, Urban -- Thailand -- Bang Kapi (Bangkok) |
|
dc.subject |
Urbanization |
|
dc.subject |
Shopping centers |
|
dc.subject |
Thailand -- Bangkok -- Bang Kapi |
|
dc.title |
อิทธิพลของศูนย์การค้าชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาย่านบางกะปิและบริเวณใกล้เคียง |
en_US |
dc.title.alternative |
Influence of suburban shopping centers in the eastern area of Bangkok : a case study of Bangkapi district and vicinity |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การวางผังเมือง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Sakchai.K@Chula.ac.th |
|