DSpace Repository

การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรม : ศึกษากรณีท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author ตุลาคมกฤต มโนรัตน์
dc.date.accessioned 2020-06-13T12:04:36Z
dc.date.available 2020-06-13T12:04:36Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745310271
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66300
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิเคราะห์แนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรม :ศึกษากรณีท้าวรุ่ง ท้าวเจือง โดยการศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมและการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรม ผ่านการมองแนวคิดวาทกรรมเรื่องอำนาจเชิงพื้นที่ และอำนาจเชิงภาษา โดยใช้ วรรณกรรม 4 ฉบับคือ (1) วรรณกรรมฉบับล้านนา (2) วรรณกรรมฉบับล้านช้าง (3) วรรณกรรมเงินยางเชียงแสนฉบับที่ 1 และ (4) วรรณกรรมเงินยางเชียงแสนฉบับที่ 2 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านวรรณกรรมท้าวรุ่ง ท้าวเจือง ผลสรุปที่ได้คือ ในอดีตดินแดนล้านนา ล้านช้าง มีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมือง สังคมเป็นสังคมชนชั้น มีทั้งชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง มีการแต่งงานระหว่างชนชั้นปกครอง เพื่อเป็นการรักษาฐานอำนาจ ตลอดจนมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง เป็นสังคมเกษตรกรรม ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องโชคชะตา ส่วนการศึกษาแนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรมโดยการศึกษา อำนาจเชิงพื้นที่ และอำนาจเชิงภาษา พบว่าวรรณกรรมท้าวรุ่ง ท้าวเจือง มิใช่เพียงเป็นวรรณกรรมเพื่อให้ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงด้วยอำนาจที่ถูกสร้างผ่านวาทกรรมว่าด้วยความจริงทางประวัติศาสตร์ วาทกรรมทางพื้นที่ วาทกรรมทางภาษา ซึ่งวรรณกรรมเรื่องนี้อาจเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์หรืออาจจะเป็นเพียงการสร้างวาทกรรมชุดหนึ่งผ่านตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ของบุคคลนามว่ารุ่งหรือเจือง วีรบุรุษสองฝังโขง
dc.description.abstractalternative This thesis analyze the concept of power in literary works concerning Thao Hung and Thao Chuang. The objectives are to understand the sociocultural conditions at the time the works were written and to understand the concept of pow er through discourse of power in terms of space and language. The four literary works selected for analysis include : (1) Lanna literary work, (2) Lanchang literary work, (3) Ngoenyang Chiangsaen literary work version 1, and (4) Ngoenyang Chiangsaen literary work version 2. Analyses of the 4 literary works indicate that Lanna and Langchang settlements were agricultural class society consisting of the ruler and the ruled classes with gender inequality. People believed in pre-determined fate. In addition, analyses of the concept of power in terms of space and language indicate that Thao Hung Thao Chuang literary works were not composed for the purpose of literary enjoyment only, the works also portray the concept of power in real life in history. Discourses on space and language indicate that Thao Hung Thao Chuang were real persons existed in specific space and time.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อำนาจ (สังคมศาสตร์)ในวรรณกรรม en_US
dc.subject วรรณกรรมพื้นบ้านไทย (ภาคเหนือ) en_US
dc.subject วรรณกรรมกับสังคม--ไทย en_US
dc.subject Power (Social sciences) in literature en_US
dc.subject Folk literature, Thai en_US
dc.subject Literature and society--Thailand en_US
dc.title การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรม : ศึกษากรณีท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง en_US
dc.title.alternative Analysis of concepts of power in literary works : a case study of Thao Hung Thao Chuang en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Amara.P@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record