DSpace Repository

ดนตรีพิธีกรรมผีฟ้าอีสานเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุษกร สำโรงทอง
dc.contributor.advisor ชอบ ดีสวนโคก
dc.contributor.author วราวุฒิ เรืองบุตร
dc.date.accessioned 2020-06-13T12:37:37Z
dc.date.available 2020-06-13T12:37:37Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741761465
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66301
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract การวิจัยดนตรีพิธีกรรมผีฟ้าอีสานเหนือมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเชื่อท้องถิ่นที่ทำให้เกิดพิธีกรรมผีฟ้า ศึกษาขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมผีฟ้า และการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของพิธีกรรมเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมผีฟ้า วิธีการบรรเลงดนตรีในพิธีกรรมรวมไปถึงความสัมพันธ์ในการใช้เพลงประกอบพิธีกรรม ผลการวิจัยจากการเก็บข้อมูลตามศูนย์วัฒนธรรมในจังหวัดต่าง ๆ ในอีสานตอนเหนือทั้ง ๑๔ จังหวัด พบว่ามีอยู่ ๗ จังหวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในอีสานตอนเหนือ คือ สกลนคร มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ จากการได้เช้าไปร่วมสังเกตการในพิธีกรรมผีฟ้าทั้ง ๗ จังหวัด พบว่าเครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมนั้นส่วนมากเป็น แคน และบทร้องเป็นทำนองซึ่งทำนองนันก็เป็นทำนอง หมอลำ ซึ่งเรียกว่า การลำล่อง เป็นการร้องในเชิงของการอ้อนวอนยกย่องผีหรือสิ่งศักดิสทธิเพื่อให้ช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีทุกข์ โดยจะมีร่างทรงนั้นเป็นผู้ร้อง และจะร้องเคล้ากันกับเสียงแคนตลอดตั้งแต่เริ่มพิธีจนเสร็จพิธี และจะมีการเสี่ยงทายเพื่อเป็นการหาสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือความทุกข์ ซึ่งทั้งหมดนั้นพบความแตกต่างในเรื่องของคำร้องซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล แต่ลายที่ใช้ในการบรรเลงนั้นมีความเหมือนกันอยู่บ้างในบางจังหวัด ซึ่งลายที่ใช้ในพิธีกรรมผีฟ้าทั้งหมด ๗ จังหวัดได้แก่ ลายแมลงภู่ตอมดอกไม้ ลายภูไท ลายโป้ซ้าย ลายสร้อย ลายสุดสะแนน ซึ่งลายเหล่านี้ใช้บรรเลงในพิธีกรรมผีฟ้าทั้งสิ้นและมีอยู่หนึ่งพิธีกรรมที่จะใช้การร้องน้อยที่สุดและใช้ดนตรีเป็นส่วนมากคือ พิธีกรรมการเลี้ยงผีของชาวกาฬสินธุ์ ซึ่งจะใช้ดนตรีมากกว่าการร้องเพราะเป็นการเลี้ยงผีหรือสิ่งศักดิ์เหนือธรรมชาติ
dc.description.abstractalternative The objectives of the thesis on “Ritual music of Peefah in northern Isam” are to study the local’s belief underlying the Peefah ritual 1 to study the components of the Peefah ritual and to study and analyze the compositions of song used in Peefah ritual and they function in the ritual. The study was conducted by collecting data from cultural centers in fourteen provinces in northern Isam, Thailand. It was found that Pheefa rituals which were in seven provinces including Sakon Nakorn, Mukdahan, Nakorn Phanom, Udonthani, Kalasin, Khon Kaen and Chaiyaphum. The Pheefa rituals were observed in all seven of these provinces. It was found that the musical instrument used the most in the rituals was the kan and the lyrics were sung in the rhythm of the Isarn style called, “Morlam”. In the Pheefa rituals, this style is specifically referred to as “Lamlong”. In all the observed ailment rituals, Lamlong was sung by the medium and accompanied by the kan to praise the ghosts as well as plead with them to aid the people suffering from sickness. In addition, the medium consulted oracles to discover the cause of the sickness. The lyrics were completely different in each region due to the mediums' spontaneous delivery. However, the music was similar in some provinces. The “Lai” (songs) used in the Pheefa rituals in all seven provinces include Lai Malangpootommai, Lai Phutai, Lai Posai and Lai Sudsanae. One notable departure from the general pattern was a Pheefa ritual in Kalasin, in which there was a lot of instrumental music but hardly any singing of lyrics.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.subject ดนตรีพื้นบ้าน--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.subject Rites and ceremonies--Thailand, Northeastern en_US
dc.subject Folk music--Thailand, Northeastern en_US
dc.title ดนตรีพิธีกรรมผีฟ้าอีสานเหนือ en_US
dc.title.alternative Ritual music of Peefah in Northern Isarn en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Bussakorn.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record