Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรมนิทานภาคใต้เรื่องโคบุดลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ และะพระอภัยมณี ในด้านเนื้อหา กลวิธีการแต่ง ภาษาสำนวนโวหารและภาพสะท้อนของวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้ และศึกษาเปรียบเทียบเรื่องดังกล่าวข้างต้นของสุนทรภู่ในต้านต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่าวรรณกรรมนิทานภาคใต้ได้รับอิทธิพลทางด้านเนื้อหาจากวรรณกรรมสุนทรภู่ แบ่งความสัมพันธ์ได้เป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการนำนิทานสุนทรภู่มาจารขึ้นใหม่ ฉันทลักษณ์และเนื้อเรื่องตรงตามต้นฉบับ ลักษณะที่สอง เป็นการนำเค้าเรื่องของวรรณกรรมสุนทรภู่มาแต่งเป็นสำนวนท้องถิ่นใต้มีการขยายความ ละความ สับลำดับความ และเปลี่ยนรายละเอียดของเรื่อง แม้ว่าวรรณกรรมนิทานภาคใต้จะได้รับอิทธิพลทั้งด้านเนื้อหาและกลวิธีการแต่งจากวรรณกรรมสุนทรภู่ แต่ในขณะเดียวกันวรรณกรรมนิทานภาคใต้ก็มีกลวิธีการแต่งที่สอดคล้องกับความนิยมของท้องถิ่นใต้ และสะท้อนภาพวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้หลายประการ อาทิ ภาษาและ สำนวนโวหาร ประเพณี มหรสพและการละเล่น ค่านิยม อาหารประจำท้องถิ่น เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับวรรณกรรมเรื่องเดียวกันของสุนทรภู่ ทำให้เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณกรรมนิทานภาคใต้ทั้ง 4 เรื่องได้อย่างละเอียดลึกขึ้งมากขึ้น