Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดในปัจจุบัน ซึ่งมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญในการแก้ใขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด ดังเช่น พระราชบัญญัติตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมให้เด็กผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้เด็ก จึงหวนมากระทำผิดซ้ำอีก รวมทั้งไม่สามารถช่วยให้เด็กได้สำนึกในการกระทำของตนและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียหายในความผิดที่ตนเป็นผู้ก่อ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กกระทำ ผิด ดังเช่น ครอบครัว ชุมชน และผู้เสียหาย รวมทั้งตัวเด็กผู้กระทำผิด ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่า ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มีหลักการที่ส่งเสริมบทบาทของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการกระทำผิดของเด็ก โดยเป็นกระบวนการที่ให้ผู้ทั้งได้รันผลกระทบจากอาชญากรรมทั้ง 3 ฝ่าย อันได้แก่ ชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย มาร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือเข้าจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการทำแผนบันทึกข้อตกลงที่ช่วยแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้สำนึกในการกระทำของตนและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย โดยการขอโทษ การชดใช้ค่าเสียหาย และ การทำงานบริการลังคม ซึ่งผู้เขียนได้ทำการศึกษารูปแบบการประชุมความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่สมควรนำมาใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด 4 รูปแบบ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด (Victim Offender Mediation) การประชุมกลุ่มครอบครัว (Family Group Conferencing) การพิจารณาแบบล้อมวง (Circle Sentencing) และคณะกรรมการฟื้นฟูชุมชน (Community Reparative Boards) ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงขอเสนอแนะให้เพิ่มบทบัญญัติให้ชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย มีส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด โดยนำระบบความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก เพี่อเอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขฟื้นฟูเด็กให้มากที่สุด และนำรูปแบบของความยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษาแล้ว มาใช้ให้เหมาะสมกับความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปผลการวิจัยและเสนอแนะแนวทางในการนำรูปแบบดังกล่าวมาใช้เป็นมาตรการในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดของประเทศไทยไว้แล้ว