DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมราวดี อังค์สุวรรณ
dc.contributor.advisor สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์
dc.contributor.author สุพรรษา สมสี, 2522-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-14T16:47:49Z
dc.date.available 2020-06-14T16:47:49Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.issn 9745317136
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66336
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดในปัจจุบัน ซึ่งมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญในการแก้ใขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด ดังเช่น พระราชบัญญัติตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมให้เด็กผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้เด็ก จึงหวนมากระทำผิดซ้ำอีก รวมทั้งไม่สามารถช่วยให้เด็กได้สำนึกในการกระทำของตนและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียหายในความผิดที่ตนเป็นผู้ก่อ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กกระทำ ผิด ดังเช่น ครอบครัว ชุมชน และผู้เสียหาย รวมทั้งตัวเด็กผู้กระทำผิด ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่า ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มีหลักการที่ส่งเสริมบทบาทของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการกระทำผิดของเด็ก โดยเป็นกระบวนการที่ให้ผู้ทั้งได้รันผลกระทบจากอาชญากรรมทั้ง 3 ฝ่าย อันได้แก่ ชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย มาร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือเข้าจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการทำแผนบันทึกข้อตกลงที่ช่วยแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้สำนึกในการกระทำของตนและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย โดยการขอโทษ การชดใช้ค่าเสียหาย และ การทำงานบริการลังคม ซึ่งผู้เขียนได้ทำการศึกษารูปแบบการประชุมความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่สมควรนำมาใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด 4 รูปแบบ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด (Victim Offender Mediation) การประชุมกลุ่มครอบครัว (Family Group Conferencing) การพิจารณาแบบล้อมวง (Circle Sentencing) และคณะกรรมการฟื้นฟูชุมชน (Community Reparative Boards) ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงขอเสนอแนะให้เพิ่มบทบัญญัติให้ชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย มีส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิด โดยนำระบบความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก เพี่อเอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขฟื้นฟูเด็กให้มากที่สุด และนำรูปแบบของความยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษาแล้ว มาใช้ให้เหมาะสมกับความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปผลการวิจัยและเสนอแนะแนวทางในการนำรูปแบบดังกล่าวมาใช้เป็นมาตรการในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดของประเทศไทยไว้แล้ว
dc.description.abstractalternative This thesis concerning on the children rehabilitation problems at the present. The main legal measures on rehabilitation of children in conflict with the law such as The Act for the Establishment of and the Procedure for the Juvenile and Family Court B.E. 2534 and The Penal Code which enforce during this period of time are not suitable rehabilitation behavior of children in conflict with the law to reintegration to society. Thus, it affects the recidivism and they are not accountable and responsible for victim. Besides that, the circumstances such as family, community and victim especially children in conflict with the law are not accountable for adress crime. The study found that Restorative Justice support the role of community, offender and victim to adress juvenile delinquency. It is a process of three stakes in the crimes such as community, offfender and victim to co-operate adressing harm. Moreover, the development of plan for rehabilitate the offender to had accountability and responsible for excuse victim, restitution and community service. The writer had alreadly studied four restorative models for apply to be a legal measures on rehabilitation of juvenile delinquent such as Victim Offender Mediation, Family Group Conferencing, Circle Sentencing and Community Reparative Boards. Each of models has promote the role of community, offender and victim differently. Thus, this thesis is suggesting an amendment some measures that promote community, offender and victim involve in rehabilitation of juvenile delinquents. To apply the Restorative Justice Process in any stages of juvenile justice for interest of the child as much as possible. And apply any restorative justice models for the child offending appropriately. The writer has already summarized and recommended the applicable measures for rehabilitate juveniles of Thailand.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน en_US
dc.subject Juvenile delinquents en_US
dc.subject Restorative justice en_US
dc.subject Juvenile justice, Administration of en_US
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กกระทำผิดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้กระทำผิด และผู้เสียหาย en_US
dc.title.alternative Legal measures on rehabilitation of children in conflict with the law through community, offender and victim involvement en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record