Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพิจารณา และประเมินทฤษฎีความเสมอภาคทางทรัพยากรของโรนัลค์ ดอว์คินที่อ้างว่าการจัดสรรที่ยุติธรรมต้องสนองตอบความต้องการ และเป้าหมายชีวิตที่บุคคลเลือกสำหรับตนเอง แสะเป็นการจัดสรรที่ทุกคนพอใจกับสิ่งที่ตนได้รับว่าคือส่วนแบ่งที่เป็นธรรม การจัดสรรชนิดนี้ดอว์คินเชื่อว่าเป็นไปได้โดยตลาดประกันภัยสมมติ ซึ่งมีการทำงานที่สอดคล้องกับหลักของการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมที่เป็นหัวใจของทรรศนะแบบเสรีนิยม การตัดสินใจในตลาดประกันภัยเป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่เสมอภาคและเป็นอิสระ ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่แต่ละคนจะประสบกับโชคร้ายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตถูกปิดบังไว้ เมื่อทุกคนไม่มีใครรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ติดตัวตนมาโดยไม่ได้เลือก การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจึงสะท้อนการเลือกอย่างอิสระบนพื้นฐานของความเชื่อที่แต่ละคนมีเกี่ยวกับสิ่งที่ดี และมีค่าในชีวิต ดอว์คินเชื่อว่าคนจะซื้อประกันภัย รัฐสามารถนำหลักการชดเชยของตลาดประกันภัยมาใช้เป็นตัวแบบสำหรับการเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนสวัสดิการโดยไม่ผิดศึลธรรม ทฤษฎีของดอว์คินถูกโต้แย้งจากนักคิดในกลุ่มเสรีนิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการถือเอาการจัดสรรอย่างเท่าเทียมบนเกณฑ์อัตวิสัย และการเลือกอิสระเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาค การเลือกเป็นมโนทัศน์ที่คลุมเครือและเข้าใจยาก อัตวิสัยที่นำไปสู่การเลือกอาจถูกกำหนดจากภายนอก การแยกบุคคลออกจากสถานการณ์ภายนอกไม่อาจแก้ปัญหาความคลุมเครือที่ว่า นอกจากนี้หลักทางศีลธรรมของความเสมอภาคที่ดอว์คินใช้อ้างมีปัญหาในแง่ สถานะและที่มาของพลังทางศีลธรรมของตัวมันแต่สิ่งที่ฝ่ายที่โต้แย้งดอว์ดินไม่ได้วิเคราะห์คือปัญหาที่ดอว์คินเผชิญเกิดจากความขัดแย้งในจุดยืนและหลักเหตุผลที่เขาใช้อ้างใน 3 ระดับคือ 1) ระหว่างบทบาทของตลาดเสรีกับบทบาทของรัฐในการจัดสรร 2) ระหว่างเสรีภาพในการเลือกในตลาดเสรีกับอิสรภาพในการเลือกภายใต้หลักที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพบางชนิด และจำกัดเสรีภาพชนิดอื่น และ 3) ระหว่างความเป็นพหุนิยมเชิงคุณค่ากับความเป็นเอกนิยมในแง่ของจริยศาสตร์ส่วนบุคคล ความขัดแย้งเหล่านี้เกิดจากดอว์คินไม่ ต้องการปฏิเสธจุดยืนใดเลย ทำให้การอ้างเหตุผลของเขามีลักษณะที่ไม่ลงรอยกันเอง ปัญหาของเขาจึงเป็นปัญหาของการนำจุดยืนเหล่านี้มาใช้อย่างฝืนขีดจำกัดของมันที่ท่าให้จุดยืนเหล่านี้หักล้างซึ่งกันและกัน การที่ทฤษฎีที่เขาเสนอมีสองบรรทัดฐานซ้อนกันไม่ได้ท่าให้ทฤษฎีดังกล่าวมีจุดแข็งที่หลากหลายและจึงเป็นที่ยอมรับได้จากทุกจุดยืนแบบที่ดอว์คินดูเหมือนจะเข้าใจ ตรงกันข้ามมันทำให้การโต้แย้งต่อทฤษฎีของเขาสามารถมาได้จากทุกทิศทางและการอ้างเหตุผลของเขาขาดพลังและความเป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะ