DSpace Repository

ทฤษฎีความเสมอภาคของโรนัลด์ ดอว์คิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุกฤษฎ์ แพทย์น้อย
dc.contributor.author ปิยฤดี ไชยพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-15T02:46:43Z
dc.date.available 2020-06-15T02:46:43Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741702108
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66347
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพิจารณา และประเมินทฤษฎีความเสมอภาคทางทรัพยากรของโรนัลค์ ดอว์คินที่อ้างว่าการจัดสรรที่ยุติธรรมต้องสนองตอบความต้องการ และเป้าหมายชีวิตที่บุคคลเลือกสำหรับตนเอง แสะเป็นการจัดสรรที่ทุกคนพอใจกับสิ่งที่ตนได้รับว่าคือส่วนแบ่งที่เป็นธรรม การจัดสรรชนิดนี้ดอว์คินเชื่อว่าเป็นไปได้โดยตลาดประกันภัยสมมติ ซึ่งมีการทำงานที่สอดคล้องกับหลักของการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมที่เป็นหัวใจของทรรศนะแบบเสรีนิยม การตัดสินใจในตลาดประกันภัยเป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่เสมอภาคและเป็นอิสระ ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่แต่ละคนจะประสบกับโชคร้ายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตถูกปิดบังไว้ เมื่อทุกคนไม่มีใครรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ติดตัวตนมาโดยไม่ได้เลือก การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจึงสะท้อนการเลือกอย่างอิสระบนพื้นฐานของความเชื่อที่แต่ละคนมีเกี่ยวกับสิ่งที่ดี และมีค่าในชีวิต ดอว์คินเชื่อว่าคนจะซื้อประกันภัย รัฐสามารถนำหลักการชดเชยของตลาดประกันภัยมาใช้เป็นตัวแบบสำหรับการเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนสวัสดิการโดยไม่ผิดศึลธรรม ทฤษฎีของดอว์คินถูกโต้แย้งจากนักคิดในกลุ่มเสรีนิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการถือเอาการจัดสรรอย่างเท่าเทียมบนเกณฑ์อัตวิสัย และการเลือกอิสระเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาค การเลือกเป็นมโนทัศน์ที่คลุมเครือและเข้าใจยาก อัตวิสัยที่นำไปสู่การเลือกอาจถูกกำหนดจากภายนอก การแยกบุคคลออกจากสถานการณ์ภายนอกไม่อาจแก้ปัญหาความคลุมเครือที่ว่า นอกจากนี้หลักทางศีลธรรมของความเสมอภาคที่ดอว์คินใช้อ้างมีปัญหาในแง่ สถานะและที่มาของพลังทางศีลธรรมของตัวมันแต่สิ่งที่ฝ่ายที่โต้แย้งดอว์ดินไม่ได้วิเคราะห์คือปัญหาที่ดอว์คินเผชิญเกิดจากความขัดแย้งในจุดยืนและหลักเหตุผลที่เขาใช้อ้างใน 3 ระดับคือ 1) ระหว่างบทบาทของตลาดเสรีกับบทบาทของรัฐในการจัดสรร 2) ระหว่างเสรีภาพในการเลือกในตลาดเสรีกับอิสรภาพในการเลือกภายใต้หลักที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพบางชนิด และจำกัดเสรีภาพชนิดอื่น และ 3) ระหว่างความเป็นพหุนิยมเชิงคุณค่ากับความเป็นเอกนิยมในแง่ของจริยศาสตร์ส่วนบุคคล ความขัดแย้งเหล่านี้เกิดจากดอว์คินไม่ ต้องการปฏิเสธจุดยืนใดเลย ทำให้การอ้างเหตุผลของเขามีลักษณะที่ไม่ลงรอยกันเอง ปัญหาของเขาจึงเป็นปัญหาของการนำจุดยืนเหล่านี้มาใช้อย่างฝืนขีดจำกัดของมันที่ท่าให้จุดยืนเหล่านี้หักล้างซึ่งกันและกัน การที่ทฤษฎีที่เขาเสนอมีสองบรรทัดฐานซ้อนกันไม่ได้ท่าให้ทฤษฎีดังกล่าวมีจุดแข็งที่หลากหลายและจึงเป็นที่ยอมรับได้จากทุกจุดยืนแบบที่ดอว์คินดูเหมือนจะเข้าใจ ตรงกันข้ามมันทำให้การโต้แย้งต่อทฤษฎีของเขาสามารถมาได้จากทุกทิศทางและการอ้างเหตุผลของเขาขาดพลังและความเป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะ
dc.description.abstractalternative This thesis intends to examine and assess Ronald Dworkin's theory of equality of resources which claims distribution is just when it responds to preferences and ambitions people choose for themselves and when it satisfies everybody and results in fair shares. Such distribution, according to Dworkin, is rendered possible by the hypothetical insurance market the functioning of which accords well with the principle of equal respect and concerns underlying the liberal tradition. Decisions in such market involve the situation that is equal and free. Risks people faced are treated as hidden factors. As no one knows of their endowments, decisions they made can be said to reflect their free and voluntary choices based on what they think are good and valuable in life, Dworkin believes that people will choose to insure themselves and so hypothetical choice can provide legitimation for government’s redistributive intervention in the market through tax system to compensate underprivileged persons. Dworkin’s account of distributive justice faces serious challenges from philosophers in his own tradition who do not agree with the treatment of the question of equal respect and concerns as merely involving the matter of choice and subjective satisfaction. The concept of choice is ambiguous and subjectivity may be determined externally. Distinction between the person and his circumstance will not do as well. Abstract principle of equality used by Dworkin to support his thesis itself lack justification in terms of status and rigor. What these critics do not touch adequately is where these inadequacies come from. Real difficulty confronted by Dworkin is due to conflicts at 3 levels of concepts and standpoints he adopts (1) between distributive roles played by free market and state authority (2) between distributive importance of market freedom and limited freedom under government-administered constraints to liberty and (3) between value pluralism and ethical monism. Dworkin is reluctant to take side in the controversy over distributive justice and that causes his argument to consist of incompatible claims, hence, at best, lacking logical rigor and power and, at worst, self-contradictory and vulnerable to criticism from all sides.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ดอว์คิน, โรนัลด์
dc.subject ความเสมอภาค
dc.subject ตลาดบริการ
dc.title ทฤษฎีความเสมอภาคของโรนัลด์ ดอว์คิน
dc.title.alternative Ronal Dworkin's theory of equality
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ปรัชญา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record