DSpace Repository

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองผิดปรกติ ในทารกแรกเกิดกลุ่มเลือดเอหรือบี ที่คลอดจากมารดากลุ่มเลือดโอ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิศรางศ์ นุชประยูร
dc.contributor.advisor ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา
dc.contributor.author ชุลีกร อิ้วตกส้าน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-15T07:34:38Z
dc.date.available 2020-06-15T07:34:38Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740308651
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66371
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract วิธีการศึกษา เก็บตัวอย่างเลือดจากมารดากลุ่มเลือดโอ และเลือดจากรกของเด็กแรกคลอดครบกำหนด จำนวน 66 รายเพื่อส่งตรวจกลุ่มเลือดเอบีโอ, อาร์ เอช, DCT, CBC และภาวะพร่องเอนไซม์จี 6 พีดี ทารกที่มารดากลุ่มเลือดโอ จะได้รับการตรวจร่างกายและวัดระดับบิลิรูบินโดยเครื่องมือวัดผ่านผิวหนัง 2 ครั้ง ภายใน 24 ชม. และ 48 ชม. และตรวจระดับแอนติบดีต่อกลุ่มเลือดเอบีโอในเลือดมารดาต่อไปถ้าทารกมีกลุ่มเลือดเอหรือบี ทารกที่มีภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติจะได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟทันทีที่มีข้อบ่งชี้ ผลการศึกษา มารดากลุ่มเลือดโอ ที่เข้าตามเกณฑ์การคัดเลือก 66 ราย ให้กำเนิดทารกกลุ่มเลือดโอ 31 ราย (ร้อยละ 47), กลุ่มเลือดเอ 13 ราย (ร้อยละ 20) และกลุ่มเลือดบี 22 ราย (ร้อยละ 33) ระดับฮีโมโกลบินเฉลี่ยเลือดจากรก = 15.40 ± 1.92 กรัม/ดล. ระดับฮีโมโกลบินเฉลี่ยของทารกกลุ่มเลือดโอ เทียบกับทารกกลุ่มเลือดเอหรือบีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบิน 15.40 ± 1.89, 15.53 ± 1.99 กรัม/ดล. , P = 0.807) ระดับบิลิรูบินเฉลี่ยขณะอายุ 0 – 24, 24 – 48 ซม. = 5.75 ± 2.11, 8.39 ± 2.85 มก./ดล. ตามลกดับ ทารก 15 ราย (ร้อยละ 22.7) มีภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ ซึ่งเป็นทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี 13 ราย (ร้อยละ 37 ของทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี) ซึ่ง 12 ราย (ร้อยละ 92 ของทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี ที่มีระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ) มีข้อบ่งชี้ต้องทำการรักษาด้วยวิธีส่องไฟ ทารกกลุ่มเลือดโอ 2 ราย มีระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ แต่ไม่ต้องการการรักษาใด ๆ ทารกที่กลุ่มเลือดเอหรือบี เสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติเป็น 5.6 เท่าของทารกกลุ่มเลือดโอ ค่าความเชื่อมั่น 95% อยู่ระหว่าง 1.41 ถึง 23.52 เท่า และถ้าทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี นี้มีฮีโมโกลบิน < 15 กรัม/ดล. จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ 2.97 เท่าของทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี ที่มีโอโมโกลบิน ≥ 15 กรัม/ดล. ค่าความเชื่อมั่น 95% อยู่ระหว่าง 1.07 ถึง 8.26 เท่า ไม่พบว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีระดับแอนติบอดีเอบีโอ ≤ 1:32 มีภาวะบิลิรูบินสูงผิดปรกติ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจพบ DCT ในเลือดจากรกให้ผลบวกกับการเกิดภาวะบิลิรูบินสูงผิดปรกติ ในการศึกษานี้ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากมีจำนวนตัวอย่างเพียง 26 ราย ผลสรุป ทารกกลุ่มเลือดเอหรือบี ที่คลอดจากมารดากลุ่มเลือดโอ และมีฮีโมโกลบินในเลือดจากรก < 15 กรัม/ดล. เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ การตรวจเลือดจากรกอาจมีความสำคัญในการตรวจหาทารกกลุ่มเลือดเสี่ยงต่อภาวะระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติ
dc.description.abstractalternative Objective : To determine relative risk of neonatal hyperbilirubinemia from the following factors : 1) maternal ABO antibody titer, 2) Direct Coombs’ test (DCT) positivity, 3) cord blood hemoglobin level. Design : Prospective study Study site : Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University Population : Newborn babies of mothers with blood group O, bom between September 1 and December 31, 2001. Material and Methods : Blood samples were obtained from cord blood and maternal blood of newborn babies during the study period by convenient sampling method and assays for ABO and Rh blood groups, DCT, a complete blood count and glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) activity. Only newborns of group O mothers were included in the study and their maternal blood were assays for anti-A and anti-B titer. Bilirubin level were measured transcutaneously in infant of group O mothers during the first 24 hour and between 24 - 48 hours of life. Newborns with pathologic jaundice (abnormally high bilirubin level by standard criteria) were promptly treated with phototherapy. Results : Sixty-six newborns with group O mothers were included in this study, 31 (47%) had blood group O, 13 (20%) had group A, 22 (33%) had group B. The average (± SD) cord blood hemoglobin level among group O new bom (15.40 ± 1.92 g/dl) were not different from group A or B newborns (15.53 ± 1.99 g/dl) by t-test (p=0.81). The transcutaneous bilirubin level in these newborns were 5.75 ± 2.11 mg/dl during the first 24 hour and 8.39 ± 2.85 mg/dl during the second day of life. Of 15 newborn had pathologic jaundice, 13 were group A or B, 2 were group o. Phototherapy were indicated in 12 jaundiced newborn group A or B and none in group O. The ABO-incompatible infants were 5.76 times more likely to have pathologic jaundice than group O infants (95% confidence interval. Cl, between 1.41 -23.52). The ABO-incompatible infants with cord blood hemoglobin below 15 g/dl were 2.97 times more likely to have pathologic jaundice than above 15 g/dl (95% Cl 1.07 - 8.26). None of group A or B newborn with maternal ABO antibody titer below 1:64 developed pathologic jaundice. Coombs’ test positivity was inconclusive because of too few positive cases. Conclusions : Among newborns with group o mothers, newborns with blood group A or B with low cord blood hemoglobin level(<15 g/dl) were associated with high risk for pathological jaundice. Therefore, cord blood screening for blood group may be useful for predictions of neonatal jaundice.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ดีซ่านในทารกแรกเกิด
dc.subject Jaundice, Neonatal
dc.title ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองผิดปรกติ ในทารกแรกเกิดกลุ่มเลือดเอหรือบี ที่คลอดจากมารดากลุ่มเลือดโอ
dc.title.alternative Risk factors for pathologic jaundice in ABO incompatible infants of group O mothers
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กุมารเวชศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record