Abstract:
ระบบประกันสุขภาพและสวัสดิการสุขภาพของไทยในปัจจุบันสามารถคุ้มครองประชาชนได้เพียงร้อยละ 80 เท่านั้น ยังมีประชากรอีกร้อยละ 20 ที่ขาดหลักประกันสุขภาพและระบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยจะมีปัญหาค่าใช้จ่ายของบริการสุขภาพโดยเฉพาะการรักษาพยาบาลมีโอกาสเกิด ขึ้นสูงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 631 คน ในทุกหมู่บ้านโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างจากคอมพิวเตอร์ตามทะเบียนผู้ถือบัตรทองกรณีเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท ทำการเก็บข้อมูลในระหว่าง 1 ธันวาคม 2544 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2545โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ไคสแควร์เพื่อหาความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากการศึกษาพบว่าในรอบ 6 เดือนมีการไปใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นผู้ป่วยนอกร้อยละ 60.3 เฉลี่ย 2.7 ครั้ง/คนและผู้ป่วยในมีไปใช้บริการร้อยละ 0.48 โดยมีอัตราการนอนเฉลี่ย 1 ครั้ง/คนการไปใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูมากที่สุดร้อยละ 87.2 เหตุผลสำคัญของการเลือกไปใช้สิทธิ์คือใกล้บ้านเดินทางสะดวกและเคยรักษามาก่อน/เป็นคนไข้ประจำและเหตุผลสำคัญของการเลือกไม่ไปใช้สิทธิ์คือไม่เคยเจ็บป่วยและซื้อยากินเอง/ร้านขายยา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนได้แก่ อาชีพ รายได้ ความพึงพอใจในบริการที่ เคยได้รับ การรับรู้สิทธิประโยชน์และการได้รับรู้เงื่อนไขการบริการ ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความสะดวกในการเดินทาง ประสบการณ์ในการรับบริการและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรคในการไปใช้บริการ ได้แก่ หลักเกณฑ์ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพและความมั่นใจในคุณภาพบริการ และข้อเสนอแนะคือควรเลือกสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนของตนเองและสามารถใช้บริการต่างจังหวัดได้