DSpace Repository

การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
dc.contributor.author ใหญ่ เตมีย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-15T08:31:08Z
dc.date.available 2020-06-15T08:31:08Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741701659
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66382
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract สถาบันทหารเป็นสถาบันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ริเริ่มมีกองทัพประจำการของประเทศ สถาบันทหารกลายเป็นสถาบันหลักที่ขึ้นมาท้าทายอำนาจ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสลัทธิทางการเมืองของโลก จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475 กลุ่มกำลังผลักดันหลักกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ คือ ทหาร ส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยไทยพัฒนาควบคู่มากับบทบาททหาร หลังจากนั้นทหารก็มีบทบาทอิทธิพลต่อของรัฐบาลมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าสภาพการณ์ ความคิด ทั่งที่เกิดจากการรับรู้ หรือ ถูกสร้างขึ้นมาจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยก็ตาม ทหารก็มีบทบาทที่จะคํ้าจุนความมั่นคงของรัฐบาล ทั่งโดยเปิดเผย และทางอ้อม การยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งของความพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองของทหาร ที่เริ่มต้นด้วยการอ้างความชอบธรรมทางการเมืองจากความล้มเหลว และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ต่อมาก็สร้างความชอบธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มปริมาณการเข้ามามีบทบาททางการเมือง และรอคอยเพื่อจะสร้างจังหวะที่เหมาะสมในการเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยตรงด้วยการเป็นผู้นำรัฐบาล ซึ่งในช่วงระยะเวลาระหว่าง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ทหารพยายามสร้างความชอบธรรมเชิงกฎหมาย เพื่อนำมาเป็นความชอบธรรมทางการเมืองเข้าสู่อำนาจการปกครองประเทศ แต่ว่าการจะใช้กฎหมายปกครองประเทศโดยอาศัยอำนาจผลักดันหรือกำลังจากกองทัพอย่างที่ รสช.ทำนั้นไม่เพียงพออีกแล้ว การเข้าสู่อำนาจการปกครองยังต้องอาศัยการยอมรับจากฝ่ายต่าง ๆ เพื่อเป็นความชอบธรรมอันเนื่องมาจากบริบทสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้ชี้ผลสำเร็จ และความล้มเหลวของการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองในการที่จะคงอยู่ในอำนาจการปกครองประเทศได้ ท้ายที่สุดคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องลงจากอำนาจ โดยผู้นำคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องลาออกจากการเป็นผู้นำรัฐบาลในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 นับเป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองประเทศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และชี้ให้เห็นว่าปฏิกิริยารวมของการไม่ยอมรับนำไปสู่ผลของความไม่ชอบธรรมทางการเมืองในที่สุด
dc.description.abstractalternative Military institution เท Thailand has been developed since the reign of King Rama 5 whereby the system of standing armed forces was established. It became a principle establishment that defined the system of absolute monarchy. Since the 1932 political changes, one of the dominant pressure groups has been the military with the consequence that democratic political development and the political role of the armed forces ran parallel to each other. Military influence loomed over Thai politics ever since despite the fact that circumstances and ideas have been changing. Yet the military in Thailand still plays the role of supporting the government either directly or indirectly. Seizure of the power by the National Peace Keeping Council (NPKC) on February 23, 1991 was once again an example of military intervention in politics. It tried to build legitimacy on the failure of the politics of the previous government. However legitimization was carried out while increasing the NPKC’s political role in the Thai government. February 23, 1991 to April 7, 1992 was the legitimization of the NKPC. But the activities for legitimacy building of NKPC was not sufficient to gain acceptance from the public. Finally, the NPKC had to step down on May 24, 1992. For the most part, general reactions from the public rejected the NPKC and it’s legitimacy attempts.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ en_US
dc.subject ทหาร -- กิจกรรมทางการเมือง en_US
dc.subject รัฐประหาร -- ไทย
dc.subject Soldiers -- Political activity
dc.subject Coups d'etat -- Thailand
dc.title การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Political legitimization of the National Peace Keeping Council in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record