DSpace Repository

การหาปริมาณออกซาเลตในชาพร้อมดื่มด้วยเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิส

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนพิชา ศรีสะอาด
dc.contributor.author สวรรยา โอชวิช
dc.contributor.author ธนาภา ชัยสถิตย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-17T05:03:25Z
dc.date.available 2020-06-17T05:03:25Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66429
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิส เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต ในตัวอย่างชาพร้อมดื่ม โดยการวิเคราะห์นี้ใช้คะพิลลารีที่เป็นซิลิกาปราศจากการ เคลือบภายในที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในขนาด 50 μm i.d. × 60.2 cm (50 cm ถึงเครื่องตรวจวัด) ภายใต้ ความต่างศักย์ไฟฟ้า -20 kV ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส โดยใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ประกอบด้วย สารละลายบอเรตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 30 mM ผสมกับฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 40 mM และเตตระ- เดซิลไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์ความเข้มข้น 0.5 mM ที่พีเอช 7.0 และตรวจวัดโดยตรงด้วยเทคนิคยูวีวิสิเบิล ที่ความยาวคลื่น 195 นาโนเมตร พบว่าใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 7 นาที มีค่าความเป็นเส้นตรงในช่วง ความเข้มข้น 10 - 500 mg/L เป็น 0.9994, 0.9996, 0.9997 และ 0.9998 สำหรับออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต ตามลำดับ การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีโดยการทดสอบความแม่น พบว่ามีค่าร้อยละการ กลับคืนของสารละลายมาตรฐานออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต เป็น 70.23%, 120.03%, 91.60% และ 70.75% ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ซ้ำ 10 ครั้ง เพื่อหาความเที่ยงในวันเดียวกัน %RSD ของไมเกรชั่นไทม์ของสารมาตรฐานออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต มีค่าน้อยกว่า 1% ส่วนพื้นที่ใต้ พีคที่ปรับค่า (Acorr) มี %RSD ของสารมาตรฐานออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบตที่มีความเข้มข้นสูง (90 mg/L) จะมีค่าต่ำกว่า 5% แต่ที่ความเข้มข้นต่ำ (30 mg/L) มี %RSD อยู่ในช่วง 2.30-7.53% แต่พบว่า แอสคอร์เบตมี %RSD เท่ากับ 15.58-18.22% สำหรับความเที่ยงระหว่างวันโดยทำการวิเคราะห์ติดกัน 3 วัน พบว่า %RSD ของไมเกรชั่นไทม์ของสารมาตรฐานทุกชนิดมีค่าน้อยกว่า 5% และพื้นที่ใต้พีคที่ปรับค่า (Acorr) ของสารมาตรฐานออกซาเลต ซิเทรต มาเลต มีค่า %RSD อยู่ในช่วง 1.59-8.11% ส่วนแอสคอร์เบตมีค่า %RSD 13.58-18.22% ค่าขีดจำกัดของการตรวจวัดด้วยเครื่องมือของออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต เท่ากับ 3, 5, 10 และ 15 mg/L และขีดจำกัดของการวิเคราะห์เท่ากับ 10, 8, 25 และ 20 mg/L ตามลำดับ จากการประยุกต์วิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการหาปริมาณออกซาเลต ซิเทรต มาเลต และแอสคอร์เบต พบว่าในชา พร้อมดื่มตัวอย่างชนิดต่าง ๆ มีปริมาณออกซาเลต ซิเทรต และแอสคอร์เบต อยู่ในช่วง 6.70-41.40 mg/L, 4.53-1,283.78 mg/L และ 23.37-463.82 mg/L ตามลำดับ ส่วนมาเลตมีปริมาณน้อยมากจนไม่สามารถ ตรวจวัดได้ en_US
dc.description.abstractalternative In this work, capillary electrophoresis (CE) was used for quantitative determination of oxalate, citrate, malate and ascorbate in instant tea samples. An uncoated fused silica capillary having 50 μm i.d. × 60.2 cm (50 cm to detector) under an applied voltage of -20 kV and a temperature of 25 ℃ was used with a background electrolyte (BGE), containing 30 mM borate buffer mixed with 40 mM phosphate buffer and 0.5 mM tetradecyltrimethyl ammoniumbromide (TTAB) at pH 7.0 and UV-Vis detection at a wavelength of 195 nm. Results showed analysis of oxalate, citrate, malate and ascorbate was achieved within 7 minutes and linear relationships (R2) for the concentration range of 10–500 mg/L were 0.9994, 0.9996, 0.9997 and 0.9998 for oxalate, citrate, malate and ascorbate, respectively. From method validation, accuracy, %recovery were 70.23%, 120.03%, 91.60% and 70.75% for oxalate, citrate, malate and ascorbate, respectively. Intraday precision (repeated 10 times) was determined and found that %RSDs of migration time for oxalate, citrate, malate and ascorbate were less than 1% and %RSDs of corrected peak area of oxalate, citrate, malate and ascorbate at high concentration (90 mg/L) were less than 5% while at low concentration (30 mg/L) %RSDs was found in the range of 2.30-7.53% but %RSD of ascorbate was 15.58-18.22%. For interday precision (3 days), it was found that %RSDs of migration time were less than 5% and %RSDs of corrected peak area of oxalate, citrate and malate were ranged from 1.59 to 8.11%, while %RSD of ascorbate was in the range from 13.58-18.22%. Limits of detection for oxalate, citrate, malate and ascorbate were 3, 5, 10 and 15 mg/L and limits of quantitative were 10, 8, 25 and 20 mg/L, respectively. The proposed method was successfully applied for quantitively determination of oxalate, citrate, malate and ascorbate in instant tea samples. It was found that the amounts of oxalate, citrate and ascorbate were found to be in the ranges of 6.70-41.40 mg/L, 4.53-1,283.78 mg/L and 23.37-463.82 mg/L, respectively. However malate was not detected in the samples because it was present in a small amount. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ออกซาเลต en_US
dc.subject ชา en_US
dc.title การหาปริมาณออกซาเลตในชาพร้อมดื่มด้วยเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิส en_US
dc.title.alternative Determination of oxalate ion in instant tea using capillary electrophoresis en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Monpichar.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record