Abstract:
การติดเชื้อแบคทีเรีย ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสาคัญที่พบในทางการแพทย์ เนื่องจากแบคทีเรียต่าง ๆ สามารถเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้หากรักษาไม่ถูกวิธี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการติดเชื้อดังกล่าว จึงมีการพัฒนาการผลิตวัสดุชนิดใหม่ที่มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหนึ่งใน สารที่สามารถทาหน้าที่นี้ได้คือ เพปไทด์ต้านจุลชีพ ซึ่งเป็นเพปไทด์สายสั้นที่มีความสามารถในการยับยั้ง เชื้อแบคทีเรีย โดยได้มีงานวิจัยที่ศึกษาการตรึงเพปไทด์ต้านจุลชีพลงบนพื้นผิวต่าง ๆมาแล้วพอสมควร เช่น การใช้ไฮโดรเจลของพอลิเอทิลีนไกลคอลที่ประกอบด้วยเพปไทด์ต้านจุลชีพ HHC10 ที่มีลาดับกรดอะมิโน (H-KRWWKWIRW-NH2) เคลือบบนพื้นผิว PET ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ S.epidermidis และจากผลการศึกษาในอดีต พบว่าฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมักขึ้นกับปริมาณประจุบวกบนพื้นผิว และ ความยาวของสายโมเลกุลที่ออกฤทธิ์ดังกล่าว ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยจึงได้สังเคราะห์เพปไทด์ต้านจุลชีพบน พื้นผิวเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย มีราคาถูก ทนต่อตัวทาละลายอินทรีย์ และไม่เป็นพิษ โดยศึกษา การตรึงเพปไทด์ที่มีลาดับดังกล่าว ในความยาวเพปไทด์ที่แตกต่างกัน เพื่อทดสอบการคงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ E.coli บนพื้นผิวดัดแปรเซลลูโลส และพบว่าเพปไทด์ที่มีความยาวของกรดอะมิโนแตกต่างกันมี ความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกัน โดยความยาวเพปไทด์ที่มากขึ้น มีความสามารถในการ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สังเคราะห์ 4-(1,3-diaminopropyl)-7-nitrobenz-[2,1,3-d]-oxadiazole ซึ่งเป็นสารประกอบสีย้อมฟลูออเรสเซนส์ในกลุ่ม oxadiazole ที่มีขนาดเล็กและละลายน้าได้ เพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้ ถึงประสิทธิภาพการตรึงสารอินทรีย์บนกระดาษที่ผ่านปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ โดยพบว่าสีย้อมดังกล่าวสามารถ ทาหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการตรึงนิวคลีโอไฟล์ลงบนกระดาษได้ดี โดยสังเกตผลความเข้ม ของการเรืองแสงเมื่อมีแหล่งกาเนิดแสงที่เหมาะสม กล่าวคือความเข้มของแสงที่ติดบนกระดาษจะแปรผัน กับความเข้มข้นของสีย้อมที่ถูกตรึงได้หลังการชะล้าง ทาให้เป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการตรึงได้นั่นเอง