DSpace Repository

การพัฒนากระดาษยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์
dc.contributor.author ศิวกร วจีศักดิ์สิทธิ์
dc.contributor.author ฐิติกร สุทัศน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-17T05:19:16Z
dc.date.available 2020-06-17T05:19:16Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66433
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract การติดเชื้อแบคทีเรีย ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสาคัญที่พบในทางการแพทย์ เนื่องจากแบคทีเรียต่าง ๆ สามารถเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้หากรักษาไม่ถูกวิธี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการติดเชื้อดังกล่าว จึงมีการพัฒนาการผลิตวัสดุชนิดใหม่ที่มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหนึ่งใน สารที่สามารถทาหน้าที่นี้ได้คือ เพปไทด์ต้านจุลชีพ ซึ่งเป็นเพปไทด์สายสั้นที่มีความสามารถในการยับยั้ง เชื้อแบคทีเรีย โดยได้มีงานวิจัยที่ศึกษาการตรึงเพปไทด์ต้านจุลชีพลงบนพื้นผิวต่าง ๆมาแล้วพอสมควร เช่น การใช้ไฮโดรเจลของพอลิเอทิลีนไกลคอลที่ประกอบด้วยเพปไทด์ต้านจุลชีพ HHC10 ที่มีลาดับกรดอะมิโน (H-KRWWKWIRW-NH2) เคลือบบนพื้นผิว PET ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ S.epidermidis และจากผลการศึกษาในอดีต พบว่าฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมักขึ้นกับปริมาณประจุบวกบนพื้นผิว และ ความยาวของสายโมเลกุลที่ออกฤทธิ์ดังกล่าว ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยจึงได้สังเคราะห์เพปไทด์ต้านจุลชีพบน พื้นผิวเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย มีราคาถูก ทนต่อตัวทาละลายอินทรีย์ และไม่เป็นพิษ โดยศึกษา การตรึงเพปไทด์ที่มีลาดับดังกล่าว ในความยาวเพปไทด์ที่แตกต่างกัน เพื่อทดสอบการคงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ E.coli บนพื้นผิวดัดแปรเซลลูโลส และพบว่าเพปไทด์ที่มีความยาวของกรดอะมิโนแตกต่างกันมี ความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกัน โดยความยาวเพปไทด์ที่มากขึ้น มีความสามารถในการ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สังเคราะห์ 4-(1,3-diaminopropyl)-7-nitrobenz-[2,1,3-d]-oxadiazole ซึ่งเป็นสารประกอบสีย้อมฟลูออเรสเซนส์ในกลุ่ม oxadiazole ที่มีขนาดเล็กและละลายน้าได้ เพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้ ถึงประสิทธิภาพการตรึงสารอินทรีย์บนกระดาษที่ผ่านปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ โดยพบว่าสีย้อมดังกล่าวสามารถ ทาหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการตรึงนิวคลีโอไฟล์ลงบนกระดาษได้ดี โดยสังเกตผลความเข้ม ของการเรืองแสงเมื่อมีแหล่งกาเนิดแสงที่เหมาะสม กล่าวคือความเข้มของแสงที่ติดบนกระดาษจะแปรผัน กับความเข้มข้นของสีย้อมที่ถูกตรึงได้หลังการชะล้าง ทาให้เป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการตรึงได้นั่นเอง en_US
dc.description.abstractalternative One of the current global health concerns is bacterial infection, which can cause resistance if treated incorrectly. This results in urgent needs for prevention methods such as the use of antibacterial material that can inhibit bacterial growth. Antimicrobial peptides, a group of short peptides, are among the known bioactive scaffolds that can be immobilized onto surfaces to make them antimicrobial. An example includes a polyethylene glycol hydrogel containing the immobilized peptide HHC10 (H-KRWWKWIRW-NH₂) coated on PET surface which showed antibacterial activities against S.aureus and S.epidermidis. In addition, previous results suggested that the amount of positive charges on surface and length of antimicrobial peptide also affect the antimicrobial activity. Herein, HHC10 antimicrobial peptides with different lengths were synthesized on cellulose support, which is inexpensive, organic-solvent resistant, and non-toxic. Thereafter, the antibacterial activities against S.aureus and E.coli were studied. The results showed that peptides with different length have varying antibacterial activities – the longer the length, the higher the antibacterial activity. Furthermore, a nucleophilic fluorescent dye, 4-(1,3-diaminopropyl)-7-nitrobenz- [2,1,3-d]-oxadiazole was synthesized. This small and water-soluble molecule was used to indicate the efficiency of immobilization of organic compounds on paper via a variety of chemical reactions. As expected, the results showed that the compound can be used to indicate the efficiency of immobilization by observing the fluorescence intensity when subjected to a light source with an appropriate wavelength. That is, the fluorescence intensity is directly proportional to the concentration of the retained compound after washing, thus indirectly indicating the efficiency of covalent immobilization. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การพัฒนากระดาษยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย en_US
dc.title.alternative Development of antibacterial paper en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Thanit.P@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record