Abstract:
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมอนุภาคที่มีขนาดระดับไมโครเมตรจากกระบวนการ ionotropic gelation ระหว่าง แคลเซียมแอลจิเนต และเอ็น-บิวทิลไคโตซาน เพื่อนำอนุภาคมาใช้ในการกักเก็บและควบคุมการปลดปล่อย กลูโคซามีน ซึ่งสังเคราะห์เอ็น-บิวทิลไคโตซานโดยการทำปฏิกิริยากันระหว่างไคโตซานกับบิวทิรัลดีไฮด์ ที่มีระดับการ แทนที่ของหมู่บิวทิลที่หมู่อะมิโนบนสายโซ่ไคโตซานเป็น 10, 30 และ 40% จากนั้นนำไปเตรียมอนุภาคเอ็น-บิวทิลไค โตซาน-แคลเซียมแอลจิเนต โดยศึกษาขนาดของอนุภาคและสัณฐานวิทยาของอนุภาค ประสิทธิภาพในการกักเก็บและ แบบแผนในการปลดปล่อยกลูโคซามีนจากอนุภาค และการบวมตัวของอนุภาคในฟอสเฟตบัฟเฟอร์ที่มีพีเอช 1.2 และ 7.4 วิเคราะห์ขนาด และสัณฐานวิทยาของอนุภาคเอ็น-บิวทิลไคโตซาน-แคลเซียมแอลจิเนต และอนุภาคไคโตซาน- แคลเซียมแอลจิเนต ที่เตรียมได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่า อนุภาคมีขนาดเฉลี่ยคือ 1.00 ± 0.05 มิลลิเมตร ประสิทธิภาพในการกักเก็บกลูโคซามีน (Entrapment efficiency: EE) ของอนุภาคไคโต ซาน-แคลเซียมแอลจิเนต และอนุภาคเอ็น-บิวทิลไคโตซาน-แคลเซียมแอลจิเนตที่เตรียมจากเอ็น-บิวทิลไคโตซานโดยมี ระดับการแทนที่เท่ากับ 10, 30 และ40% คือ 0.7, 0.47, 0.82, และ 0.57% ตามลำดับ โดยที่มีปริมาณกลูโคซามีนต่อ น้ำหนักอนุภาค (Loading capacity: LC) คือ 0.53, 0.35, 0.43 และ 0.43% ตามลำดับ โดยค่า EE และ LC มีค่าต่ำ เมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้า นอกจากนี้การบวมของอนุภาคในน้ำที่ pH 1.2 อนุภาคไม่บวมตัว และที่ pH 7.4 พบว่าค่าดัชนีการบวมตัวมีค่าลดลง เมื่อเอ็น-บิวทิลไคโตซานมีระดับการแทนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งพบว่าที่pH 7.4 อัตรา การปลดปล่อยกลูโคซามีนของอนุภาคนั้นจะลดลง เมื่อเอ็น-บิวทิลไคโตซาน-แคลเซียมแอลจิเนต ที่มีระดับการแทนที่ เพิ่มขึ้นจาก 10–40%