Abstract:
แลคโทนเป็นสารไครัลที่ใช้เป็นสารให้รสและสารแต่งกลิ่น ซึ่งแต่ละอิแนนทิโอเมอร์จะให้ รสหรือกลิ่นที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อการแยกคู่อิแนนทิโอเมอร์ของ แลคโทนที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกันทั้งหมด 13 ชนิด ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีที่มี heptakis(2-O-methyl-3-O-acetyl-6-O-tert-butyldimethylsilyl)-β-cyclodextrin (หรือ MeAc) เป็นเฟสคงที่ชนิดใหม่ เปรียบเทียบผลที่ได้กับเฟสคงที่ที่มีมาก่อนแล้ว คือ heptakis(2,3-di-Oacetyl- 6-O-tert-butyldimethylsilyl)-β-cyclodextrin (หรือ diAc) และ heptakis(2,3-di-Omethyl- 6-O-tert-butyldimethylsilyl)-β-cyclodextrin (หรือ diMe) เพื่อศึกษาผลของชนิดของหมู่ แทนที่ของไซโคลเดกซ์ทรินที่มีต่อการแยก พบว่าทั้งสามคอลัมน์แยกคู่อิแนนทิโอเมอร์ของแลค โทนส่วนใหญ่ได้ดี ยกเว้น α-acetylbutyrolactone (H) อุณหภูมิคอลัมน์มีผลต่อการแยกคู่อิ แนนทิโอเมอร์ของแลคโทนที่มีหมู่แทนที่ขนาดเล็กและเกะกะ โดยเฉพาะในคอลัมน์ diAc อย่างไรก็ตามคอลัมน์ MeAc สามารถแยกคู่อิแนนทิโอเมอร์ของแลคโทนส่วนใหญ่ได้สมบูรณ์ โดยใช้เวลาน้อยกว่าคอลัมน์ diAc และ diMe