dc.contributor.advisor | สวภา เวชสุรักษ์ | |
dc.contributor.author | เอกนันท์ พันธุรักษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-06-17T08:57:52Z | |
dc.date.available | 2020-06-17T08:57:52Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741419767 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66454 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบ รวมทั้งกลวิธีการรำเข้าพระเข้านางในการแสดงละคร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แสดง นักดนตรี การสังเกตการแสดง การฝึกหัดรำและประสบการณ์แสดงของผู้วิจัย ผลการศึกษาพบว่า การรำเข้าพระเข้านาง หรือการรำเกี้ยวพาราสี เป็นการรำที่มาจากพฤติกรรมในชีวิตจริงของมนุษย์ ที่กวีนิยมนำไปสอดแทรกในวรรณกรรมโบราณ เนื่องจากการแสดงต้องอาศัยโครงเรื่องจากวรรณกรรม จึงทำให้บทรักดังกล่าวแพร่หลายเข้ามาสู่ละครทุกประเภทตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน จากการศึกษาการแสดงรำเข้าพระเข้านางทั้ง 4 ชุด มีการแบ่งขั้นตอนการแสดงออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ รำบทเกริ่นเพียง 1 บท คือ รำบทชมโฉม รำบทตัดพ้อ รำบทลักลอบ รำบทคิดคำนึง ขั้นตอนที่ 2 รำบทเข้าพระเข้านาง หรือเกี้ยวพาราสี ขั้นตอนที่ 3 รำบทสังวาสแล้วจากลำ รำบทเกริ่นเน้นที่บทบาทของตัวพระโดยรำใช้บท การแสดงขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ รำบทเข้าพระนางเป็นการรำแบบประชิดตัว รุกเร้า แต่นุ่มนวล ตัวนาง รำแบบปัดป้องในที เน้นการใช้อวัยวะแนบชิดกัน ได้แก่ การจับมือ การลูบหน้า การถูเบาๆ ที่ตัก การนั่งในตำแหน่งที่เหลี่อมซ้อนกัน การโน้มลำตัวไปด้านข้าง พร้อมกับการแสดงอารมณ์ทางสีหน้าของทั้งสองฝ่าย คือการยิ้มแบบกรุ้มกริ่ม กับยิ้มแบบเอียงอายหลบสายตา และแบบไม่พอใจด้วยการควักค้อน มีการรำใช้บททั้งประกอบบทร้องและประกอบทำนองเพลง โดยใช้ท่ารำมาตรฐานเป็นหลักแล้วเพิ่มเติมจริตกิริยาของคู่รัก สอดแทรกลงไปในท่ารำให้เป็นท่ารำแบบสมจริง ถ้าเป็นการยืนรำจะมีอิสระในการเคลื่อนไหวทิศทาง ได้มากกว่าการนั่งรำ รำบทสังวาสแล้วจากลา ไม่มีการแสดงท่ารำเพราะเป็นบทที่เข้าใจกันโดยปริยาย บทนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่จะเน้นที่การจากลากันด้วยความอาลัยรัก และแสดงอารมณ์โศกเศร้าของทั้งสองฝ่าย ในที่สุดฝ่ายชายเป็นผู้ตัดสินใจลาจากไป มีการเปลี่ยนทำนองเพลงทั้ง 3 ช่วง ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และอารมณ์ของผู้แสดงในส่วนพระองค์ประกอบอื่นๆ เป็นส่วนเสริมแต่งให้การแสดงสมบูรณ์ แม้ว่าจะขาดองค์ประกอบบางอย่าง เช่นฉาก ก็สามารถแสดงได้โดยไม่ทำให้การแสดงขาดอรรถรสแต่ประการใด กล่าวได้ว่าการรำเข้าพระเข้านาง เป็นองค์ความรู้ทางนาฏยศิลป์มาตรฐานแบบหลวงที่นาฏยศิลปินและนักวิชาการต้องนำไปใช้ประโยชน์ในการสอน การแสดง และการวิจัย ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims at studying the background, elements and techniques of performing courtship dance in the Lakon through related documents, interviews with specialists, performers and musicians, observations of performances and the researcher's training and experience. The study has found that courtship dance was developed from real human behaviors that poets in the ancient time included in their literary work. Since dance performances had to be based on their work, amorous scenes have thus become parts of all types of the Lakon since the old days. The study of four kinds of courtship dance has revealed that their performances are divided into four steps; namely, the first step being an introductory dance which is to present on type-a dance in admiration of beauty, a dance to show remonstration, a dance depicting a clandestinely act and a dance suggesting a contemplative mood; the second stage being a courtship dance and the third stage involving a love scene and departure. The introductory dance emphasizes the role of a male dancer through the dance which depicts specific positions. The performance depends on an episode. The courtship dance depicts a close contact between male and female dancers-the male making a gentle advance to the female who pretentiously pushes him away. Different parts of the body of the dancers come close together, for example, holding hands, patting on the face, gently stroking the lap, sitting in the posture that the bodies are overlapping each other or bending the body forwards. The male and female dancers show their facial expressions through their flirtatious smiles, smiles while looking away coyly, and displeasure suggested by looking askance at the partner. The dance is accompanied by verses and melodies, based on standard dance positions and then added with affected manners of the lovers to make the dance more realistic. If the dance is performed in a standing position, the dancers will be able to move more freely than in a sitting position. The dance depicting a love scene is followed by the departure, which is not presented in a dance form because this scene is implied. The departure scene is not obligatory; if there is one, it will emphasize how the lovers express their farewell through immense love and their deepest sorrow caused by the departure. Finally, the male has to decide to leave. There are changes in melodies during these three stages of performance to make them suitable for the situation and emotions of the dancers. Other elements contribute to the completeness of the performance. Some elements may be missing; for example, scenery, but the performance can be presented without losing its significant flavor. It can be concluded that the courtship dance is a standard, court performance that performers and scholars have to make use of in their teaching, performing and research. The agencies involved should thus support further research in this branch of knowledge in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การรำ | en_US |
dc.subject | ละคร | en_US |
dc.subject | การแสดง | en_US |
dc.subject | ศิลปะการแสดง | en_US |
dc.subject | Dance | en_US |
dc.subject | Theater | en_US |
dc.subject | Acting | en_US |
dc.subject | Performing arts | en_US |
dc.title | กลวิธีในการรำเข้าพระเข้านางในการแสดงละคร | en_US |
dc.title.alternative | Techniques of performing courtship dance in lakon | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Savapar.V@chula.ac.th |