dc.contributor.advisor |
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
กรทิพย์ ศรีเรืองเมตตา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-06-18T08:02:00Z |
|
dc.date.available |
2020-06-18T08:02:00Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9741771622 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66478 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
|
dc.description.abstract |
สาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าความสัมฤทธิ์ผลจากการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับการนำปัจจัยเอื้อตามแนวทางการบริหารแบบบูรณาการมาใช้ โดยปัจจัยเอื้อที่สำคัญคือการกำหนดระเบียบบการมอบอำนาจและระเบียบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนด้านทรัพยากรให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าปัจจัยเอื้อดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในระดับผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ และวิธีการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสาร เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของการดำเนินงานโครงการว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับปัจจัยเอื้อดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการได้แสดงให้เห็นว่าผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่สามารถบริหารงานให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ได้ทุกยุทธศาสตร์ที่วางไว้ เพราะปัจจัยเอื้อที่สำคัญอย่างนโยบายการมอบอำนาจยังไม่เอื้อต่อการทำงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ จึงแสดงให้เห็นถึงการขาดการบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ การดำเนินงานในบางโครงการยังไม่ได้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติงานแบบบูรณาการเพราะยังพบถึงความซ้ำซ้อนกันระหว่างกิจกรรมของโครงการภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน และบางโครงการนำแผนงานที่เป็นภารกิจประจำของหน่วยงานมาปฏิบัติซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัยเอื้อตามแนวทางการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการแต่อย่างใด รวมทั้งการปฏิบัติงานบางโครงการยังต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยในระหว่างการดำเนินกิจกรรม แต่เป็นแค่การให้ความช่วยเหลือเท่านั้นยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานภายใต้แผนปฏิบัติการแบบบูรณาการที่ส่วนราชการต่าง ๆ จะมาวางแผนปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการมีทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักและหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยังไม่เกิดการวางแผนงานในลักษณะดังกล่าวได้นั้น เพราะส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดยังคงมีวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบดั้งเดิมที่ต้องการปฏิบัติงานแบบต่างฝ่ายต่างปฏิบัติงานผลการศึกษาที่ค้นพบในจังหวัดนครปฐมที่มีสัดส่วนของผลผลิตด้านการเกษตรสูงกว่าจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตะวันตกยังไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ได้ในยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร ย่อมแสดงนัยว่าให้แก่กลุ่มจังหวัดที่จังหวัดนครปฐมเป็นสมาชิกอยู่ได้ว่าความสัมฤทธิ์ผลจากการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติไม่อาจสำเร็จได้ด้วยจากการนำปัจจัยเอื้อมาใช้เพียงส่วนเดียว |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การบริหารรัฐกิจ -- ส่วนภูมิภาค |
|
dc.subject |
ผู้ว่าราชการจังหวัด |
|
dc.subject |
แผนพัฒนาจังหวัด |
|
dc.subject |
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด |
|
dc.subject |
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ |
|
dc.subject |
การปฏิรูประบบราชการ |
|
dc.subject |
วัฒนธรรมองค์การ |
|
dc.title |
การบริหารงานแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ศึกษากรณีจังหวัดนครปฐม (2546-2548) |
|
dc.title.alternative |
Governor's integrative administration under strategic provincial development plan : a case study of Nokhon Pathom Province (2003-2005) |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Wathana.W@Chula.ac.th |
|