DSpace Repository

แนวความคิดทางกฎหมายมหาชนในประเทศไทยว่าด้วยอำนาจรัฐตั้งแต่ พุทธศักราช 2521 ถึง พุทธศักราช 2539

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
dc.contributor.author วีรวรรณ นทกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-19T01:42:44Z
dc.date.available 2020-06-19T01:42:44Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741421974
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66499
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่าแนวความคิดทางกฎหมายมหาชนในประเทศไทย ว่าด้วยอำนาจรัฐ ตั้งแต่ พุทธศักราช 2521 ถึง พุทธศักราช 2539 เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ในฐานะที่ประเทศไทยนำเสนอว่าเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย โดยศึกษาจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกติการหลักในการปกครองประเทศ และพิจารณาสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและสังคมประกอบ จากการศึกษาพบว่ารัฐไทยที่มีอำนาจมาก เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเป็นวัฒนธรรมอำนาจนิยม ทั้งนี้เป็นเพราะในสังคมการเมืองไทย ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการเมืองปกครองมาตั้งแต่ต้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ 2475 ประชาสังคมก็ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นชนชั้นนำผูกขาดการใช้อำนาจของรัฐมาโดยตลอด ทั้งนี้ สามารถพิจารณาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ตั้งแต่ พ.ศ.2475 - พ.ศ 2516 ได้แก่ ชนชั้นนำในระบบราชการ และตั้งแต่ พ.ศ 2516 - พ.ศ 2539 ได้แก่ ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐภายใต้ระบบการเมืองที่เปิดกว้างขึ้นตามกระแสโลกที่ยึดถืออุดมการณ์ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจเสรีนิยม รัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกฎหมายในการจัดระเบียบอำนาจสูงสุดแห่งรัฐและเป็นหลักในการปกครองประเทศ ถูกใช้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยที่รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับของไทย ผู้ปกครองเท่านั้นที่เป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญไทยจึงเป็นเพียงเทคนิคทางกฏหมายของผู้มีอำนาจในรัฐเพื่อใช้ปกครองประเทศมากกว่าจะเป็นกติกาที่สังคมทั้งสังคมให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญไทยไม่มีลักษณะเป็นภาพสะท้องและผลของอุดมการณ์เชิงปรัชญาแบบประชาธิปไตยและเสรีนิยม ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดแนวความคิดในการปฏิรูปการเมืองขึ้นในปี พ.ศ 2535 เพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น อันเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการใช้อำนาจของรัฐต้องได้รับการตรวจสอบ โดยเพิ่มกลไกการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกๆด้าน
dc.description.abstractalternative The aim of this research is to study “Concept of Public Law in Thailand on State Power from B.E 2521 to B.E 2539” based on studying in the constitution the supremacy law and considering the real political circumstances as well as social conditions at that period. The result of this research indicates that Thai political system in which rarely provide opportunities for their citizens to participate. In sprit of the change of Thai regime in B.E 2475 participatory democracy did not occurred. According to this state power was still used by only some groups of leading people, who had used absolute power during that time. However it can be considered and divided into 2 dominant groups. The first one is those who worked as the superiors and the higher government officers between B.E 2475 and B.E. 2516. The second is some particular groups in business areas who involve in political system between B.E. 2516 and B.E. 2539. Constitution, considered as the supremacy law and the principle of the democratic regime was used just to symbolize the democracy regime. Moreover, almost constitutions were written by only governments Also it were used as legitimate tools of politicians rather than used for the public in general acceptance. It could be argued that Thai constitution did not have a reflection of the principle and philosophy Democracy regime. Consequently, the idea of political reform was initially established in B.E 2535 in order to stimulate every one to participate in political system. Furthermore, the use of state power must be examined through increasing certain systems and should be controlled in every level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายมหาชน -- ไทย en_US
dc.subject กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย en_US
dc.subject รัฐ en_US
dc.subject อำนาจอธิปไตย en_US
dc.subject Public law -- Thailand en_US
dc.subject Constitutional law -- Thailand en_US
dc.subject State, The en_US
dc.subject Sovereignty en_US
dc.title แนวความคิดทางกฎหมายมหาชนในประเทศไทยว่าด้วยอำนาจรัฐตั้งแต่ พุทธศักราช 2521 ถึง พุทธศักราช 2539 en_US
dc.title.alternative Concept of public law in Thailand on state power from B.E. 2521 to B.E. 2539 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Supalak.P@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record