DSpace Repository

การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเขตเทศบาลนครยะลา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
dc.contributor.advisor อภิรดี เกษมศุข
dc.contributor.author ศรีสุดา วงษ์ชุ่ม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-19T02:22:00Z
dc.date.available 2020-06-19T02:22:00Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741757131
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66508
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract การศึกษาการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเขตเทศบาลนครยะลา สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน โดยการสนับสนุนให้ประชาชนเดินทางด้วยจักรยานมากขึ้น จากการทดทวนแผน นโยบาย ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ นั้น พบว่าการเสนอโครงข่ายทางจักรยาน และสิ่งอำนวยสะดวก ตลอดจนมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ นั้น ลักษณะโครงข่ายต้องสอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไป ความต้องการและรูปแบบการเดินทางด้วยจักรยานในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต มาตรฐานที่ดีของการออกแบบเส้นทางจักรยานในหลักการสากล ลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่ที่ส่งผลต่อรูปแบบการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งความคิดเห็นและนโยบายต่าง ๆ ของผู้บริหาร การที่เทศบาลนครยะลาเป็นที่ราบ รวมทั้งมีรูปแบบโครงข่ายถนนเป็นลักษณะผสมระหว่างแบบตารางหมากรุกและแบบรัศมีนั้น ส่งผลให้ประชาชนมีเส้นทางเลือกในการเดินทาง เหมาะแก่การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานเป็นอย่างยิ่ง ผลจากการสำรวจภาคสนามพบกว่า แหล่งกำเนิดการเดินทางอยู่บริเวณถนนพิพิธภักดี ถนนผังเมือง 4 และถนนสิโรรส ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่น และส่วนใหญ่เป็นการเดินทางระยะสั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อของและออกกำลังกาย ยานพาหนะที่นิยมคือ รถจักรยานยนต์ รองลงมาคือ รถจักรยาน ซึ่งพบว่าใช้มากในกลุ่มของนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้มีรายได้น้อย การศึกษาได้เสนอสองทางเลือกของโครงข่ายทางจักรยานที่ล้วนสอดคล้องกับปัจจัย ต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว ข้างต้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ศักยภาพการฝังตัวของโครงข่ายทางจักรยานภายในโครงข่ายคมนาคมโดยรวมของเมืองด้วยเทคนิควิธี Space Syntax ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า โครงข่ายทางจักรยานที่วางตัวคู่กับถนนสายรองและสายย่อยเพื่อความปลอดภัย โดยการหลีกเลี่ยงการซ้อนทับกับถนนหลักที่มีการจราจรหนาแน่นนั้น กลับมีค่าระดับการฝังตัวที่ดีกว่า และเป็นโครงข่ายที่ผู้เดินทางสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าโครงข่ายทางเลือกที่วางตัวควบคู่ไปกับถนนสายหลัก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การวางแผนโครงข่ายทางจักรยานนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางที่ซ้อนทับอยู่กับถนนสายหลักของเมืองเสมอไป ทั้งนี้ เพราะประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงจุดหมายปลายทางต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพการฝังตัวของโครงข่ายเส้นทางทั้งหมดในภาพรวม นอกจากนี้ การศึกษายังเสนอแผนงานพัฒนาโครงข่ายเส้นทางจักรยานในเทศบาลนครยะลา 3 ระยะ ควบคู่ไปกับการเสนอมาตรการสนับสนุนการใช้จักรยานต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ การสร้างที่จอดและสิ่งอำนวยความสะดวก การประเมินผลการเดินทาง การสนับสนุนนโยบายด้านการคมนาคมและด้านการผังเมือง
dc.description.abstractalternative The study of Bicycling Network Development in Yala Municipality is coherent with sustainable urban development policy by encouraging people to travel more by bicycles. According to the review on related plans, policies including theoretical concepts and research papers, it is found that a proposed bicycling network should be well integrated with existing modes of transportation, needs and present and future demands in bicycling use, standard design guidelines, physical, economic and social characteristics of the area, including its administrators’ specific views and plans. As Yala Municipality area is flat with a road network pattern in a mix-form of grid and radial patterns, people then have a variety of travel route choices which is rather suitable for bicycling network development. According to the field survey, the origin of travels is from the densely built-up residential area around Pipit Pakdee, Phang Mueng 4 and Siroros Roads, Its majority is short distance for the purposed of shopping and exercise. The popular transport vehicle is motorcycle, especially found to be preferable among students and low-income people. The study proposes two options of bicycling route network which are all compliant to the aforementioned requirements. Both options are then analyzed in terms of their spatial integration with the overall urban network using Space Syntax technique. The statistical result supports the option that presents the network developed along sub and minor roads, aimed to avoid heavity traffic and main roads in the area for the benefit of creating as safe bicycle travelling environment, rather than the one mostly developed along major roads. The better integrated option also statistically presents a more intelligible bicycling network for people. It is thus clear that the result confirms that the efficiency of bicycling network to reach destinations depends upon its spatial integration with surrounding urban network. The study also proposes preliminary recommendations in bicycling network planning within three phases along with a draft action plan to support the use of bicycle in the area such as; a promotion, a proposed construction of bicycle parking and other facilities, travel evaluation including other related transport and urban policies.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การขนส่งทางบก -- ไทย -- ยะลา
dc.subject การขี่จักรยาน
dc.subject ทางจักรยาน -- ไทย -- ยะลา
dc.title การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเขตเทศบาลนครยะลา
dc.title.alternative Bicycling network development in Yala municipality
dc.type Thesis
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวางผังเมือง
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Khaisri.P@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record