DSpace Repository

การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสารที่ระเหยได้ในกาแฟตามแหล่งเพาะปลูกโดยใช้เทคนิคเฮดสเปซ-โซลิด เฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรีร่วมกับเคโมเมทริกซ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธรรมนูญ หนูจักร
dc.contributor.author ชวิน จุลาเกตุโพธิชัย
dc.contributor.author ภิญรดา นุ่นขาว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-22T05:47:53Z
dc.date.available 2020-06-22T05:47:53Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66526
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract ได้วิเคราะห์หาสารที่ระเหยได้ในกาแฟด้วยแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี (GC-MS) ร่วมกับเฮดสเปซ-โซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) โดยใช้แคปิลลารีคอลัมน์ของ GC ประเภท HP-5MS ขนาด 30 m x 0.25 mm x 0.25 μm และภาวะที่เหมาะสมของ HS-SPME ดังต่อไปนี้คือ อุณหภูมิที่ 90 องศาเซลเซียส, เวลาที่ใช้ในการสกัด 45 นาที และเวลาของการปลดปล่อยสารที่ 5 นาที จากการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NIST สามารถพิสูจน์ทราบสารที่ระเหยได้ 72 ชนิดโดยที่องค์ประกอบหลัก 8 ชนิด ที่มีร้อยละพื้นที่ใต้พีกเปรียบเทียบมากกว่า 1% ได้แก่ 2-methoxy-4-vinylphenol, 2-furanmethanol, furfural, pyridine, furfuryl acetate, 5-methyl-2-furancarboxaldehyde, 2-methyl-pyrimidine และ 2-furanyl-1-ethanone เมื่อใช้วิธีเคโมเมทริกซ์ชนิดการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) ที่เป็นสารที่ระเหยได้ที่ถูกเลือกมา 45 ชนิด พบว่าสามารถจำแนกตัวอย่างกาแฟจากแหล่งเพาะปลูก 4 แหล่ง (เชียงใหม่, เชียงราย, กระบี่, ชุมพร) ได้ด้วยรูปแบบ PCA ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME/GC-MS ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ในการพิสูจน์ทราบกาแฟตามแหล่งเพาะปลูกต่างกันได้ en_US
dc.description.abstractalternative Volatile compounds in coffee were determined by gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) combined with headspace solid phase microextraction (HS-SPME) using a GC capillary column of HP-5MS (30 m x 0.25 mm x 0.25 μm) and the following suitable HS-SPME conditions: temperature of 90 ° C, extraction time of 45 min and desorption time of 5 min. Comparing with the NIST library database, 72 volatile compounds were identified, along with eight major components with normalized peak area above 1% such as 2-methoxy-4-vinylphenol, 2-furanmethanol, furfural, pyridine, furfuryl acetate, 5-methyl-2-furancarboxaldehyde, 2-methyl-pyrimidine and 2-furanyl-1-ethanone. Using chemometrics with principal components analysis (PCA) of 45 selected volatile compounds, coffee samples from four geographical origins (Chiangmai, Chiangrai, Krabi, Chumphon) were classified with different PCA patterns. This indicates that HS-SPME/GC-MS combined with chemometrics can be used an alternative method for identification of coffee from different geographical origins. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กาแฟ en_US
dc.title การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสารที่ระเหยได้ในกาแฟตามแหล่งเพาะปลูกโดยใช้เทคนิคเฮดสเปซ-โซลิด เฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรีร่วมกับเคโมเมทริกซ์ en_US
dc.title.alternative Determination and comparison of volatile compounds in coffee from various geographical origins using headspace solid phase microextraction- gas chromatography-mass spectrometry combined with chemometrics en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Thumnoon.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record