dc.contributor.advisor | ขำคม พรประสิทธิ์ | |
dc.contributor.advisor | เฉลิม ม่วงแพรศรี | |
dc.contributor.author | วงศ์วรรณ คมสราวุธ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-06-23T07:01:46Z | |
dc.date.available | 2020-06-23T07:01:46Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741419899 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66555 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยวิธีการฝึกหัดซอสามสาย กรณีศึกษา : ครูเฉลิม ม่วงแพรศรี เอตทักคะทางการสีซอสามสาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการฝึกหัดซอสามสายอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการศึกษาบริบทแวดล้อมได้แก่ ความเป็นมาและลักษระทางกายภาพของซอสามสาย การบำรุงรักษาซอสามสายและศึกษาวิธีการฝึกหัดซอสามสาย ผลการวิจัยพบว่าซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย มีคันทวนยาวเจาะผ่านกล่องเสียง และมีปลายเท้ายื่นต่อจากกล่องเสียง ลักษณะของซอสามสายจึงจัดอยู่ในตระกูล spike fiddle โดยมีต้นกำเนิดจากอาหรับ ลักษณะของซอสามสายคล้ายเครื่องดนตรีในแถบเอเชีย แต่มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าชาติอื่นในเรื่องความสวยงาม ความซับซ้อนและความพอถีพิถันในการสร้างซอสามสาย ผู้วิจัยได้ประมวลการฝึกหัดซอสามสายกับ ครูเฉลิมม่วงแพรศรี ตั้งแต่ระดับการเตรียมพร้อมคือ ท่านั่ง การจับซอ การลงนิ้ว การใช้คันชัก การบำรุงรักษาซอสามสายเช่น การใส่สายการพันรัดอก การทำถ่วงหน้า และการทำหนวดพราหมณ์ จากนั้นเริ่มฝึกโดยใช้แบบฝึกหัด การต่อเพลงทำนองสั้นเพื่อเรียนรู้การสีเพลงที่ไม่ซับซ้อน จากนั้นต่อเพลงที่มีความยาวมากขึ้นตามลักษณะหน้าที่ของซอสามสาย วิธีการบรรเลงมีลักษณะการบรรเลงแบบกรอ เป็นลักษณะที่เหมาะสมกับซอสามสาย สลับกับการบรรเลงในแบบเก็บ การบรรเลงเพลงดำเนินทำนองที่มีวิธีการบรรเลงแบบเก็บ จึงต้องศึกษาวิธีการแปรทางของซอสามสาย การศึกษาวิธีการคลอร้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ฝึกหัดซอสามสาย ลักษณะการคลอร้องของครูเฉลิม ม่วงแพรศรี เป็นการคลอร้องที่ประสงค์ให้ผู้สีซอสามสายและผุ้ร้องประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ความสำคัญกับการร้องเป็นสำคัญ จากการศึกษาวิธีการฝึกหัดซอสามสาย มีรูปแบบวิธีการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนแบบมุขปาฐะ และการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการฝึกหัดซอสามสายและสามารถปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย และถ่ายทอดให้กับผู้เรียนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้อง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Research on Saw Sam Sai (a Thai three-stringed fiddle) practice: A Case study of Professor Chalerm Muangphraesri, a Saw Sam Sai specialist. The objective of this research is to study the systematic Saw Sam Sai practicing steps, starting with an introduction to the instrument's nature which comprises its background, its physical characteristics, its maintenance, and ending with the study on its practice. From the research, Saw Sam Sai is a kind of stringed instruments with a long body penetrating a voice box from where the tips of its feet stretch. With these characteristics, Saw Sam Sai is categorized into a spike fiddle family. Originated in Arab with similar characteristics to other Asian countries, it districts from the rest in its beauty, complexity and the elaborateness in construction. The researcher compiled the study on Saw Sam Sai practice with Professor Chalerm Muangphraesri. The information collected begins with the preparation for playing, including a sitting pose, the fiddle holding pose, finger pressing, fiddle bow using, and its maintenance such as putting the strings in, binding Rad Ok, making Tuang Na, and making Nhuad Brahman. After that, students proceed to play according to exercises, practice short songs so as to learn fiddling simple songs and continue with longer songs in accordance with the characteristics of Saw Sam Sai. The methods of playing Saw Sam Sai are playing slowly which suits its nature and playing rapidly interchangeably. Playing fast needs the knowledge of a improvise of Saw Sam Sai. The study on singing accompaniment is important for practitioners. The characteristics of singing accompaniment of Professor Chalerm Muangphraesri are aimed at harmonizing the Saw Sam Sai and the singer as one, with more emphasis on the singing. From the study on Saw Sam Sai playing, there are combinations of teaching between word-of-mouth and student-centered methods. Students study using Saw Sam Sri and learn to adapt it for the present time. This musical tradition can as well be passed on to the next generations accurately. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เฉลิม ม่วงแพรศรี | en_US |
dc.subject | ครูดนตรี | en_US |
dc.subject | ซอสามสาย -- การฝึก | en_US |
dc.subject | Chalerm Muangphraesri | en_US |
dc.subject | Music teachers | en_US |
dc.subject | Saw Sam Sai -- Training | en_US |
dc.title | วิธีการฝึกหัดซอสามสาย : กรณีศึกษา ครูเฉลิม ม่วงแพรศรี | en_US |
dc.title.alternative | Saw Samsai practice : the case study of Kru Chalerm Muangphraesri | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ดุริยางค์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kumkom.P@Chula.ac.th | |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล |