Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเน้นการศึกษาถึงนโยบายของกองทัพญี่ปุ่นที่มีต่อไทย การเข้ามาคำเนินการควบคุมเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายของกองทัพญี่ปุ่นต่อไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งผลในการปฏิบัติของการเข้ามาควบคุมเส้นทางรถไฟสายใต้ต่อกองทัพญี่ปุ่น กรมรถไฟไทย และราษฎรไทยในท้องถิ่น ผลจากการวิจัยพบว่า ในสมัยสงครามหาเอเชียบูรพาผู้นำทางการทหารของญี่ปุ่นตระหนักถึงความจำเป็นของกองทัพที่ต้องเร่งดำเนินนโยบายสถาปนา “วงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบุรพา" โดยการขยายอำนาจของกองทัพเข้าไปยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายขยายอิทธิพลลงสู่ภูมิภาคทางต้านใต้ที่เรียกว่า “นันชินรง” ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ไทยซึ่งมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศต่าง ๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเพียงประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นกองทัพญี่ปุ่น จึงเล็งเห็นความสำคัญของไทยในการเป็นฐานการขนส่งกำลังทหาร เสบียงอาหาร และอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อเป็นกองกำลังบำรุงให้กับกองทัพญี่ปุ่นในพม่าและมลายู ดังนั้นทันทีที่กองทัพญี่ปุ่นยกกองกำลังทหารเข้าสู่ประเทศไทยได้แล้ว จึงเร่งดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือจากไทยในการจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการคมนาคมขนส่ง โดย แผนการดำเนินนโยบายต่อไทยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเข้ามาดำเนินการควบคุมเน้นทางรถไฟของไทย ผลของการวิจัยพบว่ากองทัพญี่ปุ่นให้ความสำคัญคับการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะเป็นเน้นทางที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถใช้ในการขนส่งกองกำลังบำรุงให้กับแนวหน้าของกองทัพได้ทั้งในพม่าและมลายู กล่าวคือ ส่วนแรกกองพลทหารรถไฟญี่ปุ่นสามารถเข้ามาจัดขบวนรถไฟพิเศษเพื่อการขนส่งในราชการทหารบนเน้นทางรถไฟสายใต้เพื่อทำการเดินรถไฟข้ามแดนจากปาดังเบซาร์ถึงอลอร์สตาร์ และจากสุไหงโกลกถึงโคตาบารุของมลายู อีกส่วนหนึ่งกองพลทหารรถไฟสามารถเข้ามาสร้างทางรถไฟทหารสายใหม่เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิม เพื่อเชื่อมเน้นทางการขนส่งระหว่างไทยกับพม่าถึง 2 เส้นทาง คือ ทางรถไฟสายไทย-พม่า และทางรถไฟสายคอคอดกระ
นอกจากนั้น ในการวิจัยยังพบว่า การเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลต่อการปฏิบัติการทางการทหารของกองทัพญี่ปุ่น การดำเนินงานของกรมรถไฟไทย และการดำเนินชีวิตของราษฎรไทยในท้องถิ่น กล่าวคือในส่วนของการปฏิบัติการทางการทหาร กองทัพญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายในการใช้ทางรถไฟสายใต้ขนส่งข้าวสารจากไทยเพื่อเป็นเสบียงอาหารให้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่นในมลายู ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นความสำคัญของไทยในฐานะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำให้กับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา อีกทั้งกองทัพยังบรรลุเป้าหมายในการใช้ทางรถไฟทหารสายใหม่ทั้งสองสายขนส่งกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารเพื่อเป็นกองกำลังบำรุงให้กับกองทัพญี่ปุ่นในพม่าได้สำเร็จในระดับหนึ่งด้วย แต่งในทางตรงกันข้ามการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลกระทบในทางลบต่อกรมรถไฟไทยที่ต้องรับภาระจากการค้างชำระหนี้สินค่าโดยสารและค่าระวางในการขนส่งยุทธปัจจัยของกองทัพญี่ปุ่นเป็นจำนวนเงินมหาศาลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของราษฎรไทยในท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาการใช้เงินดอลลาร์ของทหารญี่ปุ่น ปัญหาเครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูง ปัญหาขาดแคลนข้าวสาร และปัญหาการใช้อำนาจทหารญี่ปุ่น ในกรณีเหตุการณ์บ้านโป่งและเหตุการณ์ยึดจังหวัดระนอง ผลของการศึกษานี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า การเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็น เป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นว่าไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน โดยญี่ปุ่นได้ใช้อำนาจทางการทหารเข้ามาควบคุมและมีอำนาจเหนือในการเรียกร้องให้ฝ่ายไทยจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งบนทางรถไฟของไทยให้กับกองทัพญี่ปุ่นอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องตลอดสงคราม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ที่ว่าการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นเป็นการดำเนินการที่มีการวางแผนการปฏิบัติการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ซึ่งประเทศไทยไม่มีทางเลือก นอกจากการยินยอมและโอนอ่อนผ่อนตามเท่านั้น