DSpace Repository

กองทัพญี่ปุ่นกับทางรถไฟสายใต้ของไทย สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ระหว่าง พ.ศ. 2484-2488

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยนาถ บุนนาค
dc.contributor.advisor สุรางค์ศรี ตันเสียงสม
dc.contributor.author พวงทิพย์ เกียรติสหกุล
dc.date.accessioned 2020-06-24T08:31:21Z
dc.date.available 2020-06-24T08:31:21Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741770154
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66569
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเน้นการศึกษาถึงนโยบายของกองทัพญี่ปุ่นที่มีต่อไทย การเข้ามาคำเนินการควบคุมเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายของกองทัพญี่ปุ่นต่อไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งผลในการปฏิบัติของการเข้ามาควบคุมเส้นทางรถไฟสายใต้ต่อกองทัพญี่ปุ่น กรมรถไฟไทย และราษฎรไทยในท้องถิ่น ผลจากการวิจัยพบว่า ในสมัยสงครามหาเอเชียบูรพาผู้นำทางการทหารของญี่ปุ่นตระหนักถึงความจำเป็นของกองทัพที่ต้องเร่งดำเนินนโยบายสถาปนา “วงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบุรพา" โดยการขยายอำนาจของกองทัพเข้าไปยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายขยายอิทธิพลลงสู่ภูมิภาคทางต้านใต้ที่เรียกว่า “นันชินรง” ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ไทยซึ่งมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศต่าง ๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเพียงประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นกองทัพญี่ปุ่น จึงเล็งเห็นความสำคัญของไทยในการเป็นฐานการขนส่งกำลังทหาร เสบียงอาหาร และอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อเป็นกองกำลังบำรุงให้กับกองทัพญี่ปุ่นในพม่าและมลายู ดังนั้นทันทีที่กองทัพญี่ปุ่นยกกองกำลังทหารเข้าสู่ประเทศไทยได้แล้ว จึงเร่งดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือจากไทยในการจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการคมนาคมขนส่ง โดย แผนการดำเนินนโยบายต่อไทยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเข้ามาดำเนินการควบคุมเน้นทางรถไฟของไทย ผลของการวิจัยพบว่ากองทัพญี่ปุ่นให้ความสำคัญคับการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะเป็นเน้นทางที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถใช้ในการขนส่งกองกำลังบำรุงให้กับแนวหน้าของกองทัพได้ทั้งในพม่าและมลายู กล่าวคือ ส่วนแรกกองพลทหารรถไฟญี่ปุ่นสามารถเข้ามาจัดขบวนรถไฟพิเศษเพื่อการขนส่งในราชการทหารบนเน้นทางรถไฟสายใต้เพื่อทำการเดินรถไฟข้ามแดนจากปาดังเบซาร์ถึงอลอร์สตาร์ และจากสุไหงโกลกถึงโคตาบารุของมลายู อีกส่วนหนึ่งกองพลทหารรถไฟสามารถเข้ามาสร้างทางรถไฟทหารสายใหม่เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิม เพื่อเชื่อมเน้นทางการขนส่งระหว่างไทยกับพม่าถึง 2 เส้นทาง คือ ทางรถไฟสายไทย-พม่า และทางรถไฟสายคอคอดกระ นอกจากนั้น ในการวิจัยยังพบว่า การเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลต่อการปฏิบัติการทางการทหารของกองทัพญี่ปุ่น การดำเนินงานของกรมรถไฟไทย และการดำเนินชีวิตของราษฎรไทยในท้องถิ่น กล่าวคือในส่วนของการปฏิบัติการทางการทหาร กองทัพญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายในการใช้ทางรถไฟสายใต้ขนส่งข้าวสารจากไทยเพื่อเป็นเสบียงอาหารให้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่นในมลายู ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นความสำคัญของไทยในฐานะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำให้กับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา อีกทั้งกองทัพยังบรรลุเป้าหมายในการใช้ทางรถไฟทหารสายใหม่ทั้งสองสายขนส่งกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารเพื่อเป็นกองกำลังบำรุงให้กับกองทัพญี่ปุ่นในพม่าได้สำเร็จในระดับหนึ่งด้วย แต่งในทางตรงกันข้ามการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลกระทบในทางลบต่อกรมรถไฟไทยที่ต้องรับภาระจากการค้างชำระหนี้สินค่าโดยสารและค่าระวางในการขนส่งยุทธปัจจัยของกองทัพญี่ปุ่นเป็นจำนวนเงินมหาศาลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของราษฎรไทยในท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาการใช้เงินดอลลาร์ของทหารญี่ปุ่น ปัญหาเครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูง ปัญหาขาดแคลนข้าวสาร และปัญหาการใช้อำนาจทหารญี่ปุ่น ในกรณีเหตุการณ์บ้านโป่งและเหตุการณ์ยึดจังหวัดระนอง ผลของการศึกษานี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า การเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็น เป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นว่าไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน โดยญี่ปุ่นได้ใช้อำนาจทางการทหารเข้ามาควบคุมและมีอำนาจเหนือในการเรียกร้องให้ฝ่ายไทยจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งบนทางรถไฟของไทยให้กับกองทัพญี่ปุ่นอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องตลอดสงคราม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ที่ว่าการเข้ามาควบคุมทางรถไฟสายใต้ของกองทัพญี่ปุ่นเป็นการดำเนินการที่มีการวางแผนการปฏิบัติการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ซึ่งประเทศไทยไม่มีทางเลือก นอกจากการยินยอมและโอนอ่อนผ่อนตามเท่านั้น
dc.description.abstractalternative The aim of this thesis is to study the control of the Japanese army over Thailand’s southern railways during the Greater East Asia War of 1941 - 1945. The main emphasis is on war-time Japanese policy towards Thailand, the way in which the control over Thai southern railways was exerted and the impact of such action on the Japanese army, the Thai Railway Department and most importantly on the Thai local population. The result of this study clearly indicates that during the Greater East Asia War, Japanese military leaders fully realized the urgent necessity of their attempt to establish the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere by extending military control over Southeast Asia. This strategy was the important part of the overall “Southern Expansion Policy” or “Nanshinron”. Under such circumstances, Thailand, by virtue of her geographical location at the center of mainland Southeast Asia, and by the strength of being the only country which escaped western colonialism, was considered the most suitable base from which Japanese military reinforcement, food supplies, weapons and war equipment could be transported to bolster the Japanese army which already operated in Burma and Malaya. Thus, as soon as Japanese forces were stationed in Thailand, negotiation was underway to gain Thailand’s co-operation in providing transport facilities, the most important aspect of which was control of the Thai railways. The study finding suggests that the Japanese army regarded the control over Thai southern railways as the most vital element of their overall strategy on military reinforcement because this particular railway track provided direct links to frontline battlefields in Burma and Malaya. Japanese military control over Thai southern railways involved a two-goal action plan. The first was to manage special trains on existing routes for the transportation of Japanese troops across the border from Padang Besar to Alor-star and from Sungei Golok to Kota Bam in Malaya. The second plan was to build two new railway tracks extended from the original southern railways into Burma. They were the Thai – Burma Railway and the Kra Canal Railway. The control of Thai southern railways by the Japanese army had diverse effects on the Japanese military undertakings, the Thai Railway Department and the local population respectively. As far as its military goal was concerned, the Japanese army succeeded in using the Thai southern railways in transporting rice to its troops in Malaya, reflecting the importance of Thailand as a center for the Japanese army’s food supplies during the war. The Japanese army also succeeded to a certain extent in using the newly-built railways to transport troops, war equipment and food supplies to Burma. For Thailand, however, the control of the southern railways by the Japanese army had adverse effects. The Thai Railway Department had to carry an enormous amount of loss as railway fares and transportation costs incurred by the Japanese army were left unpaid. Equally drastic was the impact on the Thai local population whose life and security were threatened by Japanese use of the dollar currency, the shortage of rice, the rising cost of living, and Japanese abuse of power, for example in the incident at Ban Pong and the seizure of Ranong province. The overall results of this study tend to support the conclusion that, far from Thailand and Japan being on equal terms, the Japanese army's control of Thai southern railways was a case study of how Japan's military involvement in Thailand was clearly based on Japan's superior status. This superiority enabled the Japanese army to make sure that it received supplies and reinforcements through these railways during the entire War. The study therefore emphasizes the fact that the control of the Thai southern railways by the Japanese army was planned in advance and well executed, which left Thailand with no other choice but to comply.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.41
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 --ไทย en_US
dc.subject ทางรถไฟ -- ไทย (ภาคใต้) en_US
dc.subject ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่น en_US
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.subject World War, 1939-1945 -- Thailand en_US
dc.subject Railroad rails -- Thailand, Southern en_US
dc.subject Thailand--Foreign relations -- Japan en_US
dc.title กองทัพญี่ปุ่นกับทางรถไฟสายใต้ของไทย สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ระหว่าง พ.ศ. 2484-2488 en_US
dc.title.alternative The Japanese Army and Thailand's southern railways during the Greater East Asia War, 1941-1945 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประวัติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Piyanart.B@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.41


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record