Abstract:
อุปกรณ์ฐานกระดาษควบคู่กับการตรวจวัดเชิงสีได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณของ สารหนู ลวดลายขี้ผึ้งบนกระดาษได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างรูปแบบระบบของไหลจุลภาคซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน (1) บริเวณหยดสารตัวอย่าง (2) ส่วนปรับภาวะให้เหมาะสม (3) ส่วนกักเก็บรีเอเจนต์ (4) ส่วนตรวจวัดเชิง สี เมื่อหยดสารละลายตัวอย่างลงบนบริเวณหยดสารตัวอย่าง สารละลายดังกล่าวจะเคลื่อนที่บนอุปกรณ์ผ่าน แรงดึงแคพิลลารี เข้าสู่ส่วนปรับภาวะให้เหมาะสมซึ่งตัวออกซิไดส์ในบริเวณนี้จะปรับภาวะของสารหนูให้เป็น อาร์เซเนต (As(V)) ต่อมาอาร์เซเนตจะทำปฏิกิริยากับกรดแอสคอร์บิกและแอมโมเนียมโมลิบเดตเกิดเป็น สารประกอบเชิงซ้อนสีน้าเงินเข้มในบริเวณส่วนตรวจวัดเชิงสี บันทึกภาพอุปกรณ์ด้วยกล้องดิจิทัลในกล่อง ควบคุมแสงเพื่อให้ภาวะของแสงคงที่ตลอดการทดลอง และวัดความเข้มสีของสารประกอบเชิงซ้อนด้วย โปรแกรม imageJ ได้มีการศึกษาการหาภาวะที่เหมาะสมของปฏิกิริยาเชิงสี ได้แก่ ความเข้มข้นของรีเอเจนต์ และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ผลการทดลองที่ได้พบว่าได้กราฟมาตรฐานที่มีความเป็นเส้นตรง ในช่วงความเข้มข้น 50 ถึง 1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ 0.991 ขีดจำกัดของการตรวจวัด (S/N=3) เท่ากับ 1.22 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และขีดจำกัดของการตรวจวัดเชิงปริมาณ (S/N=8) เท่ากับ 1.95 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อุปกรณ์นี้ประสบความสำเร็จในการหาปริมาณสารหนูในตัวอย่างข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอร์รี่