Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากิจกรรมดนตรีที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุระหว่าง 13-18 ปี ระดับเชาวน์ปัญญา 35-49 เป็นนักเรียนในโรงเรียนราชานุกูล สถาบันราชานุกูล จำนวน 16 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมดนตรีและกลุ่มควบคุมไม่ได้รับกิจกรรมดนตรีแต่ได้รับกิจกรรมปกติตามที่โรงเรียนกำหนด แบบแผนการทดลองการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบ Pre test – Post test Control group design ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. กิจกรรมดนตรีสามารถปรับพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง (กลุ่มทดลอง) ใน้ลดลงได้ (มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดีขึ้น) โดยกิจกรรมดนตรีที่มีความเหมาะสมในการปรับพฤติกรรมได้เด่นชัดมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ 1. กิจกรรมที่ 4 ความเข้มของเสียง (Color Intensity) 2. กิจกรรมที่ 7 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 3. กิจกรรมที่ 6 ความจำ (Memorization) 4. กิจกรรมที่ 8 ความพึงพอใจ (Satisfaction) 5. กิจกรรมที่ 2 ทำนอง และกิจกรรมที่ 3 ระดับเสียง (Melody, pitch) 6. กิจกรรมที่ 1 จังหวะ (Rhythm) 7. กิจกรรมที่ 5 ธรรมชาติของเสียง (Tone Color) 2. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาปานกลางกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมดนตรี มีพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ลดลงกว่าเด็กกลุ่มควบคุม กล่าวคือ มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์สูงขึ้นกว่าเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกิจกรรมดนตรี