DSpace Repository

ศึกษากิจกรรมดนตรีที่มีต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง : กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูล

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุษกร สำโรงทอง
dc.contributor.advisor ภานินี อึ่งปั้น
dc.contributor.author สุดฤทัย ชัยบุตร
dc.date.accessioned 2020-06-25T14:36:32Z
dc.date.available 2020-06-25T14:36:32Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741764944
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66601
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากิจกรรมดนตรีที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุระหว่าง 13-18 ปี ระดับเชาวน์ปัญญา 35-49 เป็นนักเรียนในโรงเรียนราชานุกูล สถาบันราชานุกูล จำนวน 16 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมดนตรีและกลุ่มควบคุมไม่ได้รับกิจกรรมดนตรีแต่ได้รับกิจกรรมปกติตามที่โรงเรียนกำหนด แบบแผนการทดลองการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบ Pre test – Post test Control group design ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. กิจกรรมดนตรีสามารถปรับพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง (กลุ่มทดลอง) ใน้ลดลงได้ (มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดีขึ้น) โดยกิจกรรมดนตรีที่มีความเหมาะสมในการปรับพฤติกรรมได้เด่นชัดมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ 1. กิจกรรมที่ 4 ความเข้มของเสียง (Color Intensity) 2. กิจกรรมที่ 7 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 3. กิจกรรมที่ 6 ความจำ (Memorization) 4. กิจกรรมที่ 8 ความพึงพอใจ (Satisfaction) 5. กิจกรรมที่ 2 ทำนอง และกิจกรรมที่ 3 ระดับเสียง (Melody, pitch) 6. กิจกรรมที่ 1 จังหวะ (Rhythm) 7. กิจกรรมที่ 5 ธรรมชาติของเสียง (Tone Color) 2. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาปานกลางกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมดนตรี มีพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ลดลงกว่าเด็กกลุ่มควบคุม กล่าวคือ มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์สูงขึ้นกว่าเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกิจกรรมดนตรี
dc.description.abstractalternative The purpose of this experimental research is to investigate effects of music activities on emotional development of the children with moderate mental retardation which is the case study of Rajanukul Institute. There are 16 children with mental retardation between group age of 13-18 years old, talented with the I.Q., 35-44 respectively. Two groups of eight children are found with moderate mental level of effects, each of whom participated in the experimental group and the control group. The experimental design was Pre-test and Post-test Control groups’ design. The results were as follows; 1. Musical activities can mormalize the child’s emotional behaviors that reveal certain degrees of defective intelligence quotion’s at a moderate level (Testing group), and likely to abate, (emotional developments may in prove). As a result, there are the following musical activities to help them adjust for a more suitable and most evident behaviour development, to say respectively: Activities one Color Intensity Activities two Creativity Activities three Memorization Activities four Satisfaction Activities five Melody and pitch Activities six Rhythm Activities seven Tone Color . The children who experience mental retardation and who received the rehearsal of musical activities have had higher level on emotional development than those who go without them.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เด็กปัญญาอ่อน en_US
dc.subject อารมณ์ในเด็ก en_US
dc.subject พัฒนาการของเด็ก en_US
dc.subject ดนตรีกับเด็ก en_US
dc.subject Children with mental disabilities en_US
dc.subject Emotions in children en_US
dc.subject Child development en_US
dc.subject Music and children en_US
dc.title ศึกษากิจกรรมดนตรีที่มีต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง : กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูล en_US
dc.title.alternative Effects of music activities on emotional development of the children with moderate mental retardation : the case study of Rajanukul Institute en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Bussakorn.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record