DSpace Repository

รูปแบบมาตรฐานเว็บไซต์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิไล อัศวเดชศักดิ์
dc.contributor.author อรรฆพันธ์ เธียรถาวร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-29T08:01:49Z
dc.date.available 2020-06-29T08:01:49Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745325422
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66673
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์องค์ประกอบเว็บไซต์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาแนวทางการออกแบบและกำหนดรูปแบบมาตรฐานเว็บไซต์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คณะผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์หรือการออกแบบพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ (Designer) และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานโปรแกรมเว็บไซต์หรือผู้ดูแลระบบ โครงสร้างเว็บไซต์ (Webmaster) โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นกึ่งสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างประกอบด้วยคำถามแบบปลายเปิด และคำถามแบบปลายปิด ประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่าได้ข้อสรุปของรูปแบบมาตรฐานเว็บไซต์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดกลุ่มรูปแบบเว็บไซต์ได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มรูปแบบเว็บไซต์ด้านวิชาการ กลุ่มรูปแบบเว็บไซต์ด้านบริการ และกลุ่มรูปแบบเว็บไซต์ด้านภาพลักษณ์โดยใช้หลักการออกแบบคือความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) ความคงตัว (Consistency) การควบคุม (Control) การปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และความเรียบง่าย (Simplicity) ประกอบด้วยลักษณะที่เหมาะสมของรูปแบบมาตรฐานเว็บไซต์คือ โครงสร้างและการจัดวางองค์ประกอบ (Layout) การใช้ตัวอักษร (Typography) การใช้สี (Color) การใช้สัญลักษณ์และสัญรูป (Logo and Icon) การใช้ภาพประกอบ (Illustration) และการใช้เครื่องมือนำทาง (Navigation)
dc.description.abstractalternative This research is to gather information and analyze the structure of the website belonging to the faculties within the Chulalongkorn University. The aim is to find a standardized website layout which could be used by these different faculties. There are three main groups of users, which are the group of directors in Chulalongkorn University, the group of experts at designing website or designing interface (Designer), and the group of experts at programming website or taking care of system of website (Webmaster). Tools that are used in this research include questionnaire and interviews. Questions are consisted of open-ended and close-ended questions with five levels of answers. The results are then analyze and evaluate statistically by taking the average of the answer levels. From the research result, it has been concluded that the standardized website formats for the Chulalongkorn University faculties can be created. This website format is to be divided into three groups which are the group of academic website, the group of service website, and the group of visual website. The basic for this creation is by using Identity, Consistency, Control, Interactive, and Simplicity. These features are consistency, Control, Interactive, and Simplicity. These features are consistent with the basic form of website creation which includes Layout, Typography, Color, Logo and Icon, Illustration and Navigation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ทรัพยากรเครือข่ายคอมพิวเตอร์
dc.subject เว็บไซต์ -- การออกแบบ
dc.subject Web sites -- Design
dc.title รูปแบบมาตรฐานเว็บไซต์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title.alternative Standard of web design for faculties in Chulalongkorn University
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นฤมิตศิลป์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Wilai.As@Chula.ac.th, Asawa.W@Gmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record