Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับเรนินในเลือด และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความต้าน ทานในหลอดเลือดกับระดับเรนินในเลือด ในผู้ป่วยที่มีดักตัส อาเตอริโอซัส หลังจากทำการปิดดักตัส อาเตอริ โอซัส รูปแบบการวิจัย วิจัยเชิงปรมาณเปรียบเทียบไปข่างหน้าสถานที่ศึกษา หอผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร ผู้ป่วยอายุ 0-18 ปีซึ่งมารับการรักาปิดดักตัส อาเตอริโอซัสโดยการใส่เครื่องมือปิดท่งสายสวนหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือน มิถุนายน 2548-มีนาคม 2549 วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มารับการรักษาเปิดดักตัส อาเตอริโอศัสโดยการใส่เครื่องมือปิดทางสายสวนหัวใจ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะได้รับการบันทึกอายุ, เพศ, ความดันโลหิต และการตรวจเพื่อหาค่าความด้านทานในหลอดเลือดด้วยเครื่องคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ร่วมกับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับเรนินในเลือดในวันก่อนการปิดและหลังภายหลังการปิดดักตัส อาเตอริโดศัสวันที่ 1, 3, 30 ตามลำดับ ผลการศึกษา มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 23 ราย มีขนาดของดักตัส อาเตอริโอซัส โดยเฉลี่ยประมาณ4.38+2.966 มิลลิเมตร พบว่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณเลือดไปปอดต่อปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกาย มีค่าเฉลี่ยประมาร2.32:1 ค่าเฉลี่ยความด้านทานในหลอดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหลังการปิดดักดัส อาเตอริโอซัสวันทีที่ 1, 3, 30 ที่วัดโดยวิธี ทูไดเมนชั่นในการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ มีค่าท่ากับ 26.17+10.869, 22.58+8.085, 26.66+9.28. 27.03+11.17 ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยความด้านทานในหลอดไปเลี้ยงร่างกายภาย หลังการปิดดัส อาเตอริโอซัสวันที่ 1, 3, 30 ที่วัดได้จากการใช้ดรอปเปอร์ คือ 18.47+9.94, 17.24+7.986, 18.89+6.926, 17.56+5.249 ค่าเฉลี่ยของระดับเรนินในเลือดก่อนการปิดและภายหลังการปิดดักดัส อาเตอริโอซัส วันที่ 1, 3, 30 คือ 9.75+9.303, 8.68+5.720, 10.01+5.002, 6.66+5.383 ng/ml/hr ตามลำดับ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value>0.05) ของระดับเรนินในเลือดก่อนการปิดและภายหลังการปิดดักตัส อาเตอริโอซัส และเมื่อเปรียบเทียบค่าความต้านในหลอดเลือดไปเลี้ยงร่างกายภายหลังการปิดดักดัส อาเตอริโอซัสในแต่ละวันพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับเรนินในเลือดกับความดันโลหิตและค่าความต้านทานในหลอดเลือดไปเลี้ยงร่างกายในแต่ละวัน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน บทสรุป การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานในหลอดเลือดไปเลี้ยงร่างกายภายหลังการปิดดักตัส อาเตอริhaโดซัสในแต่ละวันไม่มีความแตกต่างกัน ในส่วนของระดับเรนินในเลือดพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในช่วงก่อนและหลังการปิดดักตัส อาเตอริโอซัส และไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างระดับเรนินกับความดันโลหิตและค่าความต้านทานในหลอดเลือด ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายภาวะความดันโลหิตสูงภายหลังการปิดดักตัส อาเตอริโอซัสได้