วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในเขตการค้าเสรีอาเซียน ศึกษากรณีสินค้าอุตสาหกรรมโดยศึกษาเฉพาะกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือและเขตเศรษฐกิจยุโรป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมในเขตการค้าเสรีอาเซียนยังมีวิธีการแสดงที่มาของแหล่งกำเนิดสินค้าไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักการทั่วไปของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า กล่าวคือ ไม่สอดคล้องกับหลักความแน่นอน หลักการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หลักความเป็นกลาง และหลักความโปร่งใส ทำให้เกิดปัญหาทางค้านเศรษฐกิจ คือ ปัญหาทางการค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากหากใช้เกณฑ์สัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในอาเซียน ร้อยละ 40 จะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวไม่สามารถผลิตไค้แหล่งกำเนิดในอาเซียนได้ เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศนอกภาคีอาเซียนมากกว่าร้อยละ 60 ผู้เขียนได้เสนอว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ควรจะต้องแก้ไขเพิ่มเดิมให้ใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญโดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากรเป็นกฎทางเลือกทั่วไปร่วมกับเกณฑ์สัดส่วนการใช้ วัตถุดิบภายในอาเซียนร้อยละ 40 กับสินค้าทุกรายการ โดยเฉพาะกับสินค้าอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการวางโครงเรื่องในปริจเฉทเรื่องเล่าจากเรื่องประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมในภาษาไทย โดยมีสมมติฐานคือ การแสดงทัศนะของผู้เล่าเป็นองค์ประกอบสำคัญพบในเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงมากกว่าเรื่องเล่าจากประสบการณ์อ้อมและการวางโครงเรื่องที่พบในปริจเฉทเรื่องเล่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างในด้านจำนวนและการเรียงสำคับขององค์ประกอบ ข้อมูลที่ศึกษาได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีจำนวน 80 คน จากผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าประสบการณ์ตรงประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ การเกริ่นนำ การนำเสนอบริบทตัวละครและสถานที่ การดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะ และการจบเรื่อง ขณะที่เรื่องเล่าประสบการณ์อ้อมประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ การเกริ่นนำ การนำเสนอบริบทตัวละครและสถานที่ การดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะ การคลี่คลายเรื่อง และการจบเรื่อง โดยที่รูปแบบการวางโครงเรื่องในเรื่องเล่าแต่ละประเภทมีความคล้ายคลึงกันแตกต่างเฉพาะรายละเอียด ของเรื่องเล่า งานวิจัยนี้ยังพบอีกว่ามีการแสดงทัศนะของผู้เล่าในเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงมากกว่าเรื่องเล่าประสบการณ์อ้อม เนื่องจากเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงส่วนใหญ่ประกอบด้วยความคิดและความรู้สึกของผู้เล่าที่ทำหน้าที่ในการดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะจึงถือเป็นองค์ ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดองค์ประกอบหนึ่งของเรื่อง ลักษณะนี้ไม่ปรากฏในเรื่องเล่าประสบการณ์อ้อมที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเรื่องราวที่เกิดขึ้น รวมถึงการเดินเรื่องที่ให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับเหตุการณ์มากกว่าส่วนที่เป็นทัศนะผู้เล่า นอกจากนี้พบว่าจำนวนองค์ประกอบมีความแตกต่างกันระหว่างเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมในส่วนของการคลี่คลายของเรื่อง โดยไม่ปรากฏในเรื่องเล่าที่เป็นการเดินเรื่องระนาบเดียว หรือเรื่องที่ดำเนินเนื้อเรื่องโดยไม่ปรากฏปมปัญหาและจุดตึงเครียด ส่วนการเรียงลำดับองค์ประกอบของเรื่องเล่าทั้ง 2 ประเภทพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เรื่องเล่าส่วนใหญ่จะพัฒนาไปตามเวลา เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของตัวละคร