Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66702
Title: | กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในเขตการค้าเสรีอาเซียน : ศึกษากรณีสินค้าอุตสาหกรรม |
Other Titles: | Rules of origin in AFTA : industrial goods |
Authors: | เติมสิริ ปัญญาวัฒนชัย |
Advisors: | ทัชชมัย ฤกษะสุต |
Advisor's Email: | Tashmai.R@Chula.ac.th |
Subjects: | เขตการค้าเสรีอาเซียน ใบรับรองแหล่งกำเนิด -- กลุ่มประเทศอาเซียน สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร -- กลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Free Trade Area Certificates of origin -- ASEAN countries Tariff preferences -- ASEAN countries |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในเขตการค้าเสรีอาเซียน ศึกษากรณีสินค้าอุตสาหกรรมโดยศึกษาเฉพาะกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือและเขตเศรษฐกิจยุโรป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมในเขตการค้าเสรีอาเซียนยังมีวิธีการแสดงที่มาของแหล่งกำเนิดสินค้าไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักการทั่วไปของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า กล่าวคือ ไม่สอดคล้องกับหลักความแน่นอน หลักการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หลักความเป็นกลาง และหลักความโปร่งใส ทำให้เกิดปัญหาทางค้านเศรษฐกิจ คือ ปัญหาทางการค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากหากใช้เกณฑ์สัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในอาเซียน ร้อยละ 40 จะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวไม่สามารถผลิตไค้แหล่งกำเนิดในอาเซียนได้ เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศนอกภาคีอาเซียนมากกว่าร้อยละ 60 ผู้เขียนได้เสนอว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ควรจะต้องแก้ไขเพิ่มเดิมให้ใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญโดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากรเป็นกฎทางเลือกทั่วไปร่วมกับเกณฑ์สัดส่วนการใช้ วัตถุดิบภายในอาเซียนร้อยละ 40 กับสินค้าทุกรายการ โดยเฉพาะกับสินค้าอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการวางโครงเรื่องในปริจเฉทเรื่องเล่าจากเรื่องประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมในภาษาไทย โดยมีสมมติฐานคือ การแสดงทัศนะของผู้เล่าเป็นองค์ประกอบสำคัญพบในเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงมากกว่าเรื่องเล่าจากประสบการณ์อ้อมและการวางโครงเรื่องที่พบในปริจเฉทเรื่องเล่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างในด้านจำนวนและการเรียงสำคับขององค์ประกอบ ข้อมูลที่ศึกษาได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีจำนวน 80 คน จากผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าประสบการณ์ตรงประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ การเกริ่นนำ การนำเสนอบริบทตัวละครและสถานที่ การดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะ และการจบเรื่อง ขณะที่เรื่องเล่าประสบการณ์อ้อมประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ การเกริ่นนำ การนำเสนอบริบทตัวละครและสถานที่ การดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะ การคลี่คลายเรื่อง และการจบเรื่อง โดยที่รูปแบบการวางโครงเรื่องในเรื่องเล่าแต่ละประเภทมีความคล้ายคลึงกันแตกต่างเฉพาะรายละเอียด ของเรื่องเล่า งานวิจัยนี้ยังพบอีกว่ามีการแสดงทัศนะของผู้เล่าในเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงมากกว่าเรื่องเล่าประสบการณ์อ้อม เนื่องจากเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงส่วนใหญ่ประกอบด้วยความคิดและความรู้สึกของผู้เล่าที่ทำหน้าที่ในการดำเนินเรื่อง การแสดงทัศนะจึงถือเป็นองค์ ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดองค์ประกอบหนึ่งของเรื่อง ลักษณะนี้ไม่ปรากฏในเรื่องเล่าประสบการณ์อ้อมที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเรื่องราวที่เกิดขึ้น รวมถึงการเดินเรื่องที่ให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับเหตุการณ์มากกว่าส่วนที่เป็นทัศนะผู้เล่า นอกจากนี้พบว่าจำนวนองค์ประกอบมีความแตกต่างกันระหว่างเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมในส่วนของการคลี่คลายของเรื่อง โดยไม่ปรากฏในเรื่องเล่าที่เป็นการเดินเรื่องระนาบเดียว หรือเรื่องที่ดำเนินเนื้อเรื่องโดยไม่ปรากฏปมปัญหาและจุดตึงเครียด ส่วนการเรียงลำดับองค์ประกอบของเรื่องเล่าทั้ง 2 ประเภทพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เรื่องเล่าส่วนใหญ่จะพัฒนาไปตามเวลา เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของตัวละคร |
Other Abstract: | The objective of this dissertation is to study the Rules of Origin used in AFTA. It is focused on preferential rules of origin’s case study on the industry of iron and steel including gems and jewelry. Also, Rules of Origin used in NAFTA and EEA must be analyzed and compared. The research shows that the current Rules of Origin used in AFTA still have some weak points. One of those points is that they are inconsistent with basic principles of Rules of Origin which consist of Consistency, Predictability, Neutrality, and Transparency. Such inconsistencies may cause an economic problem occurring in trade and manufacturing sectors especially in industry of iron and steel including gems and jewelry. In addition, the 40% value-added criteria to determine origin used in ASEAN may not practically be applicable since more than 60% of raw materials need to be imported from non-ASEAN members. Finally, the dissertation suggests that besides 40% value-added criteria, Change in Tariff Classification might be an alternative rule for ASEAN rule of origin especially when applying with industry of iron and steel including gems and jewelry. This research is a study of plot organization in Thai narrative discourse based on direct and indirect experiences. The hypotheses are as follows. Evaluation is an important component in plot organization found in direct experience stories more than indirect experience ones. Plot organization in the two types of narratives differ in the number and sequence of components. It is found that direct experience stories consist of 5 components, namely abstract, orientation, complicating action, evaluation and coda. Indirect experience stories, on the other hand, comprise 6 components, namely abstract, orientation, complicating action, evaluation, resolution and coda. But generally speaking, the narrator has a similar pattern in telling stories in each narrative genre. In addition, evaluation is found more in direct experience stories than indirect experience ones. This is because direct experience stories contain the narrator’s emotions and ideas which form an important part in story development. These elements are not found in the indirect experience stories which focus on story development and event ordering, rather than evaluation Moreover, resolution does not appear in direct experience stories which lack developing conflict and climax. In addition, component sequence dose not differ in the two types of narratives. Most stories develop through time, event and relationship between characters. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66702 |
ISBN: | 9741769881 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tiamsiri_pa_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 995.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 5.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 5.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tiamsiri_pa_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.