dc.contributor.advisor |
นาตยา งามโรจนวณิชย์ |
|
dc.contributor.advisor |
นงนุช เหมืองสิน |
|
dc.contributor.author |
ดนิตา ธัมมปที |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-06-30T15:07:47Z |
|
dc.date.available |
2020-06-30T15:07:47Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66713 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีสำหรับกำจัดวัชพืชกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และส่งผล เสียต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีการทดแทนด้วยสารจากธรรมชาติเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น อีเอ็มจากหน่อกล้วย มีคุณสมบัติในการกำจัดวัชพืช ซึ่งในอีเอ็มจากหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์ที่สำคัญสำหรับกำจัดวัชพืช คือ แบคทีเรีย สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) ที่ผลิตสาร ALA ปริมาณสูง และ Phytotoxin ของแอคติโนมัยซีท (Actinomycete) เพื่อให้จุลินทรีย์จากหน่อกล้วยมีชีวิตและมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์จึงทำการห่อหุ้มเชื้อ จุลินทรีย์จากหน่อกล้วยด้วยแอลจิเนต ซึ่งแอลจิเนตเป็นสารที่นิยมใช้ในการห่อหุ้มสารอื่นๆ เช่น ยา อาหาร หรือ แบคทีเรีย เนื่องจากแอลจิเนตเป็นพอลิแซคคาไรด์ที่ได้จากธรรมชาติ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีราคาถูก ไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นพรีไบโอติกซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการ ทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ในอีเอ็มจากหน่อกล้วยและหาอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับขึ้นรูปบีดอีเอ็ม พบว่า บีดที่ เตรียมจากแอลจิเนต 2% และ 1.8% โดยมวลต่อปริมาตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมจึงนำบีดทั้ง 2 ไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การปลดปล่อย พบว่าบีดอีเอ็ม 2% และ 1.8% มีเปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยสูงสุดที่ 62% และ 61.8% ตามลำดับ ที่ระยะเวลา 8-10 วัน จากนั้นทำการทดสอบการออกฤทธิ์กับวัชพืช พบว่า บีดอีเอ็มจากการเตรียมด้วยแอลจิเนต 2% มีความสามารถในการควบคุมวัชพืชได้ดีกว่า 1.8% และงานวิจัยนี้ ยังได้ศึกษาการทำให้บีดแห้งด้วยอากาศกับการทำให้แห้งด้วยเครื่องทำแห้งด้วยลมร้อน (Fluid bed dryer) พบว่า การทำให้แห้งด้วยเครื่องทำแห้งด้วยลมร้อนไม่ทำลายเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยอีกทั้งยังทำให้บีดแห้ง เร็วกว่าอากาศถึง 22 เท่า |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Chemical herbicides have been widely used for controlling weeds, that may effect or toxic to human and the environment. Thus, chemical herbicides were replaced by natural materials. EM from the banana shoot has microbial herbicides. It can be controlled growing of weeds. In EM from banana shoot has significant material for eliminated weeds that are ALA from photosynthetic bacteria and phytotoxin from actinomycete. In this research, EM was encapsulated by alginate. Because, alginate is one of the most popular material for encapsulation drug, food or bacteria. Alginate is prebiotic that is food for microbial herbicide as a result microbial is grown. This research has been studying properly ratio for encapsulation is 2% w/v and 1.8% w/v of alginate. Then, releasing is calculated that 2% and 1.8% of EM bead have a percentage of release are 62% and 61.8% respectively. Moreover both EM bead can highly release at 8-10 days. Next, 2% of EM bead can control weeds better than 1.8% of EM bead. In addition, this research has studied drying of the bead. EM bead was dried by fluid bed dryer 22 times faster than air. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
การห่อหุ้มเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยด้วยแอลจิเนตเพื่อใช้กำจัดวัชพืช |
en_US |
dc.title.alternative |
Encapsulation of Microbial Herbicide from Young Banana Plants by Alginate |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Nattaya.N@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Nongnuj.J@Chula.ac.th |
|