Abstract:
คุณสมบัติเชิงแสงของอนุภาคซิลเวอร์นาโนจะแปรเปลี่ยนไปตามขนาด และรูปร่างของอนุภาค ซึ่งขนาดและรูปร่างของซิลเวอร์นาโนจะส่งผลโดยตรงต่อสีของสารละลายและช่วงความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสงในตรวจวัดโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ในงานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนทรงกลมโดยใช้ปฏิกิริยารีดักชันซึ่งมีโซเดียมโบโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ และมีแป้งเป็นตัวช่วยเสถียร จากนั้นทำการปรับเปลี่ยนรูปร่างอนุภาคซิลเวอร์นาโนทรงกลมให้เป็นแบบแผ่นโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นตัวช่วยเปลี่ยนรูปร่าง จากนั้นทำการพัฒนาเซ็นเซอร์ทั้งสิ้น8 ระบบ (เซ็นเซอร์ A – H) เพื่อสำหรับใช้ในการตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เซ็นเซอร์ A ซึ่งประกอบไปด้วย สารละลายผสมระหว่างสารละลายซิลเวอร์นาโนสีเหลือง สารละลายซิลเวอร์นาโนสีแดงที่ปกคลุมด้วยโมเลกุลซิเตรต และสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต เป็นเซ็นเซอร์ที่ตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้จากการโตของอนุภาคซิลเวอร์นาโน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมและจำเพาะต่อการตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อนำมาตรวจวัดโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปีและวิธีทางคัลเลอริเมตริก พบว่าสามารถสังเคราะห์ซิลเวอร์นาโนใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยวิธีทางคัลเลอริเมตริกที่มีค่าขีดจำกัดในการตรวจพบเท่ากับ 2.14 มิลลิโมลาร์ (R² = 0.90) จากนั้นนาไปประยุกต์ใช้หาปริมาณกูลโคสโดยอาศัยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการทาปฏิกิริยากับเอนไซม์กลูโคออกซิเดส พบว่าเซ็นเซอร์ A ยังไม่สามารถตรวจวัดหาปริมาณกลูโคสได้