DSpace Repository

การตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยวิธีคัลเลอริเมตริกโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของซิลเวอร์นาโนปริซึม

Show simple item record

dc.contributor.advisor คเณศ วงษ์ระวี
dc.contributor.author ณพรรษ พฤทธิอานันต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-30T15:56:41Z
dc.date.available 2020-06-30T15:56:41Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66719
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 en_US
dc.description.abstract คุณสมบัติเชิงแสงของอนุภาคซิลเวอร์นาโนจะแปรเปลี่ยนไปตามขนาด และรูปร่างของอนุภาค ซึ่งขนาดและรูปร่างของซิลเวอร์นาโนจะส่งผลโดยตรงต่อสีของสารละลายและช่วงความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสงในตรวจวัดโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ในงานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนทรงกลมโดยใช้ปฏิกิริยารีดักชันซึ่งมีโซเดียมโบโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ และมีแป้งเป็นตัวช่วยเสถียร จากนั้นทำการปรับเปลี่ยนรูปร่างอนุภาคซิลเวอร์นาโนทรงกลมให้เป็นแบบแผ่นโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นตัวช่วยเปลี่ยนรูปร่าง จากนั้นทำการพัฒนาเซ็นเซอร์ทั้งสิ้น8 ระบบ (เซ็นเซอร์ A – H) เพื่อสำหรับใช้ในการตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เซ็นเซอร์ A ซึ่งประกอบไปด้วย สารละลายผสมระหว่างสารละลายซิลเวอร์นาโนสีเหลือง สารละลายซิลเวอร์นาโนสีแดงที่ปกคลุมด้วยโมเลกุลซิเตรต และสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต เป็นเซ็นเซอร์ที่ตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้จากการโตของอนุภาคซิลเวอร์นาโน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมและจำเพาะต่อการตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อนำมาตรวจวัดโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปีและวิธีทางคัลเลอริเมตริก พบว่าสามารถสังเคราะห์ซิลเวอร์นาโนใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยวิธีทางคัลเลอริเมตริกที่มีค่าขีดจำกัดในการตรวจพบเท่ากับ 2.14 มิลลิโมลาร์ (R² = 0.90) จากนั้นนาไปประยุกต์ใช้หาปริมาณกูลโคสโดยอาศัยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการทาปฏิกิริยากับเอนไซม์กลูโคออกซิเดส พบว่าเซ็นเซอร์ A ยังไม่สามารถตรวจวัดหาปริมาณกลูโคสได้ en_US
dc.description.abstractalternative The optical properties of silver nanoparticles depend on their size and shape. Different size and shape of silver nanoparticles will directly reflect in the different color of the colloidal solution and also the different absorbance in UV-visible region. In this study, silver nanoparticle with spherical shape was successfully synthesized using sodium borohydride and starch as a reducing agent and stabilizer, respectively. Shape transformation of spherical silver nanoparticle to silver nanoprism was achieved using hydrogen peroxide as shape converting agent. Several sensors (sensor A-H) were developed using the mixtures of the synthesized silver nanoparticles in order to quantify the amount of H₂O₂. It was found that sensor A (a mixture of yellow silver nanoparticles, red silver nanoparticles with citrate and silver nitrate) was an appropriate sensor as H₂O₂ could induce the growth of the silver nanoprisms. The observed phenomenon was sensitive and also selective to amount of the added H₂O₂. The determination of H₂O₂ concentration utilizing UV-visible spectroscopic technique and colorimetric approach were employed. The hydrogen peroxide concentration at 2.40 mM could be recognized by naked eye observation with good accuracy (R² = 0.90), stability and reproducibility. Furthermore, the proposed sensor can be applied to determine the glucose concentration using the glucose-oxidase system. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การตรวจวัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยวิธีคัลเลอริเมตริกโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของซิลเวอร์นาโนปริซึม en_US
dc.title.alternative Colorimetric Sensing of Hydrogen peroxide Based on the Morphology Changes of Silver Nanoprisms en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Kanet.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record