dc.contributor.advisor |
ชลธิศ ธีระฐิติ |
|
dc.contributor.author |
วรางคณา มุทุมล |
|
dc.date.accessioned |
2020-07-01T07:52:38Z |
|
dc.date.available |
2020-07-01T07:52:38Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9745313017 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66760 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเงื่อนไขที่กำหนดขอบเขตความหมายของสิทธิมนุษยชนในบริบทปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ ผลจากการศึกษาและตีความพบว่าเทคนิคของอำนาจใด้เข้ามามีส่วนในการก่อร่าง, ทำการผลิตแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนใน 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. อำนาจได้เข้ามาเชื่อมต่อ ร้อยเรียงชิ้นส่วนของประวัติศาสตร์ซึ่งแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ไม่ต่อเนื่องให้กลายเป็นความรู้ที่ได้รับการรองรับความถูกต้องและมีอำนาจในการแถลงความหมาย โดยการอ้างอิงกับรากฐานเชิงเหตุผลนิยมซึ่งสนับสนุนการมีอยู่ของสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง เช่น การอ้างสิทธิตามธรรมชาติ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. อำนาจได้เข้ามาจัดประเภทสิทธิมนุษยชนและสร้างความชอบธรรมให้กับสิทธิบางประเภท ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้หลักฐานอ้างอิงของสิทธิชุดนั้นสามารถทำการผูกขาดหรือเถลิงอำนาจในการอธิบายได้อย่างชอบธรรมโดยไม่มีข้อขัดแย้ง เช่น การแบ่งแยกว่าสิทธิที่มีความเป็นสากลสามารถปฏิบัติได้จริงโดยมีกฎหมายบังคับหรือรับรอง และมีความ สำคัญอย่างยิ่งอย่างเช่นสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองเท่านั้นที่เป็นสิทธิมนุษยชนที่แท้จริง สิทธิทางเศรษฐกิจและลังคมซึ่งไม่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงการเรียกร้องตามความปรารถนา จึงไม่อาจดำรงสถานะแห่งสิทธิที่เท่าเทียมกันได้ 3. ในขณะที่อำนาจทำการกีดกันความรู้บางประเภทออกจากระบอบของความจริงอำนาจก็ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้คนชายขอบสามารถผลิตวาทกรรมในระดับรากหญ้าหรือท้องถิ่นตอบโต้กับวาทกรรมกระแสหลักที่เถลิงอำนาจอยู่ด้วยเช่นกัน การต่อสู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคหลังสมัยใหม่ที่มีต่อระบบทุนนิยมเสรี และแนวคิดสิทธิชุมชนคือหลักฐานยืนยันแนวโน้มปัจจุบันของอำนาจที่ปรากฏในรูปของกระบวนการปลดปล่อยความรู้ที่ถูกปิดกั้น |
|
dc.description.abstractalternative |
The main focus of this study of Michel Foucault’s methodologies aims to reveal the relation of power and knowledge on modern Human Rights philosophy. The study found that power has played effective roles in constituting and conditioning the meaning possibility of Human Rights at least in 3 following ways. 1. piecemeal fashioned a discontinuous a history of political and citizen's rights into an authorized knowledge by passing some sort of authorized test or finding some rational and foundational justification from natural rights theory and human dignity thought. 2. categorized and validated some sons of human rights in order to make this kind of knowledge a monopolize regime without any legitimate opposition. The study illustrated an struggles of power between political and economic rights supporters and indicated some criterions which have been used for categorize real rights from unreal one, such as universality, practicability and paramount importance. 3. liberating subjugated knowledge and constituting them to function as counter dominant discourse. The case study of community rights and new social movements against capitalism were picked up to exemplify the trend of power which currently showed out as liberating suppressed knowledge procession. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ฟูโกต์, มิเชล, ค.ศ. 1926-1984 |
en_US |
dc.subject |
สิทธิมนุษยชน |
en_US |
dc.subject |
การเมือง -- ปรัชญา |
en_US |
dc.subject |
อำนาจ (สังคมศาสตร์) |
en_US |
dc.subject |
Foucault, Michel, 1926-1984 |
en_US |
dc.subject |
Human right |
en_US |
dc.subject |
Political science—Philosophy |
en_US |
dc.subject |
Power (Social sciences) |
en_US |
dc.title |
วาทกรรมว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ |
en_US |
dc.title.alternative |
Discourses on human rights in modern political philosophy |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การปกครอง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Choltis.T@Chula.ac.th |
|