Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพร่กระจายและการเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมในจังหวัดสุพรรณบุรีมีโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 16 โรงใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือการสัมภาษณ์และการสังเกตและใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นส่วนเสริมโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวม 350 คน ผลการวิจัยพบว่ารัฐบาลได้เข้ามาสนับสนุนให้เกิดการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนโดยผ่านกระทรวงศึกษาธิการ 3 ด้านคือการจัดทำหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์, การจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์และการสนับสนุนด้านสื่ออินเทอร์เน็ตและพบว่าโรงเรียนได้ดำเนินการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติการดำเนินการในระดับนโยบายพบว่าส่วนใหญ่ได้มีการจัดทำแผนงานการแพร่กระตายสื่อคอมพิวเตอร์เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเฉพาะและระบุทั้งเป้าหมายและวิธีดำเนินการชัดเจนแต่ไม่ได้ระบุถึงระยะเวลาดำเนินการหรือวิธีประเมินประสิทธิผลส่วนการดำเนินการในระดับปฏิบัติการพบว่าโรงเรียนได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง sever มาใช้ด้วยตนเองและมีการให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อคอมพิวเตอร์แก่นักเรรียนโดยใช้ 6 วิธีการหลักคือการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อประเภทบอร์ด สื่อหนังสือและวารสาร สื่อ VCD ชมรมรคอมพิวเตอร์และการเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้สื่อคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองนอกชั่วโมงเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ จากการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้ส่งผลต่อโรงเรียน 3 ด้านคือ 1. ผลด้านโรงสร้างกายภาพโดยส่วนใหญ่ต้องปรับใช้ห้องเรียนมาจัดทำเป็นห้องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 ห้องและได้ปรับห้องให้เหมาะสมเช่นได้จัดทำเป็นห้องกระจกมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและยังได้วางสายโทรศัพท์เพิ่มเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. ผลด้านงบประมาณพบว่าการนำสื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนทำให้ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากแต่โรงเรียนส่วนใหญ่มีงบประมาณน้อยจึงส่งผลให้งบประมาณที่จัดสรรไปในด้านอื่นๆของโรงเรียนลดน้อยลง 3. ผลต่อบุคลากรพบว่าครูต้องรับภาระในการสอนและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสื่อคอมพิวเตอร์เพิ่มนอกจากนี้ยังต้องดูแลห้องคอมพิวเตอร์นอกชั่วโมงเรียนด้วยส่วนนักเรียนต้องจ่ายเงินบริจาคให้โรงเรียนคนละประมาณ 200-300 บาทต่อเทอม จากการดำเนินการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงนักเรียนดังกล่าวพบว่ายังไม่ประสบคามสำเร็จมากนักเนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคหลัก 5 ประการคือ 1. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณโดยพบว่าเป็นอุปสรรคเนื่องจากากรนำสื่อคอมพิวเตอร์มาใช้จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากทั้งเพื่อจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์, ค่าไฟฟ้า, ค่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ฯลฯ 2. โรงเรียนซึ่งเป็นตัวกลางการแพร่กระตายสื่อคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงนักเรียนโดยตรงไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์มากเท่าที่ควรจึงทำให้การดำเนินการไม่อาจบรรลุผลอย่างแท้จริง 3. การสนับสนุนของรัฐบาลขาดคามต่อเนื่องส่งผลให้การดำเนินการไม่บรรลุผลหรือบรรลุผลล่าช้าเนื่องจากรัฐบาลเป็นองค์กรหลักที่ผลักดันให้เกิดการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์เข้าไปในโรงเรียน 4. ครูขาดคความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่อาจถ่ายทอดความรู้และแนะนำการใช้ประโยชน์จากสื่อคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนได้ดีนัก 5. นักเรียนมีเวลาเข้าใช้สื่อคอมพิวเตอร์น้อย นั่นคือนักเรียนมีเวลาอยู่ในโรงเรียนจำกัดและมักต้องเรียนตลอดทั้งวันจึงไม่ค่อยมีเวลาทำคามคุ้นเคยและใช้สื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนมากนัก